วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สุมฏฐานวินิจฉัย(ต่อ)


คัมภีร์สมุฏฐานวินิจฉัยนี้ เปนตราชูแห่งคัมภีร์เวชศาสตร์ทั้งหลาย เปนหลักเปนประธานอันใหญ่ยิ่งฦกซึ้งคัมภีรภาพ นัก มิอาจที่บุคคลจะหยั่งรู้ได้โดยง่าย ถ้าแลแพทย์ผู้ใดมิได้เรียนพระคัมภีร์นี้ จะวางยา ก็บมิอาจที่จะได้ (ถูก) ต้อง กับโรคโดยแท้ เหตุว่ามิได้รู้ในกองสมุฏฐานพิกัตอันนี้ แพทย์ผู้นั้นได้ชื่อว่ามิจฉาญาณแพทย์ 

กองพิกัตสมุฏฐาน ๔ ประการนั้น คือธาตุสมุฏฐาน ๑ ฤดูสมุฏฐาน ๑ อายุสมุฏฐาน ๑ กาลสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐานทั้ง ๔ ประการนี้ แพทย์ทั้งหลายพึงเรียนไว้ให้แจ้งในมหาพิกัตสมุฏฐาน เปนที่ตั้งแห่งภูมิโรคแลภูมิแพทย์ทั้งปวง

สมุฏฐานธาตุทั้ง ๔ หรือกองธาตุสมุฏฐาน มีเตโชธาตุ เปนต้น มีปถวีธาตุเปนที่สุด
เตโช วาโย อาโปและปถวี ทั้ง ๔ กองนี้เปนมหาพิกัตสมุฏฐานธาตุหมวดหนึ่ง แพทย์พึงรู้ไว้ดังนี้
คิมหันตะฤดูสมุฏฐานนั้น เปนพิกัตแห่งปิตตะสมุฏฐานให้เปนเหตุ 

ปิตตะสมุฏฐาน วาตะสมุฏฐาน เสมหะสมุฏฐาน
สมุฎฐานโรค มีสมุฎฐานสาม คือปิตตะ  วาตะ เสมหะ คือ ลม ดี เสลด เป็นสาเหตุสำคัญ หากสมุฎฐานใด,หนึ่งในสามธาตุนี้ผิดปกติไป ก็กระทบกับธาตุสมุฎฐานทั้งสองแล้วกระทบต่อธาตุดินในที่สุด 
ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก .http://www.medimind.net/สาเหตุการเกิดโรค/ธาตุสมุฏฐาน.html  

สมุฎฐานมหาภูตรูปสี่
ว่าด้วยสมุฎฐานมหาภูตรูปสี่ ละสาม ละสาม กับการเกิดโรคในร่างกายเรา
พิเศษสมุฏฐาน แล ๓ แล ๓ เช่นคิมหันตะสมุฏฐาน มี ๔เดือนแบ่งเป็นช่วงละ ๔๐ วัน คือแรมค่ำหนึ่งเดือน ๔ ไปจนแรม ๑๐ ค่ำเดือน ๕ เปนตำแหน่งพัทธะปิตตะสมุฏฐาน แลพัทธะปิตตะจะได้ทำเองนั้นหามิได้ อาไศรยจตุกาลเตโชกองใดกองหนึ่งก็ดี ระคนพัทธะปิตตะสมุฏฐานเหตุว่าเปนเจ้าของ ถ้าจะแก้อย่าให้เสียเดิมเปนอาทิโดยพิกัตเป็นต้น
ท่านจึ่งจัดไว้ว่าใน ๔ เดือนนี้เปนกำหนดคิมหันตะสมุฏฐานแห่งกำเดา ด้วยว่ากำเดานี้คือเปลวแห่งวาโย โลหิตเสมหะแลสรรพคุณสมุฏฐานทั้งปวง ซึ่งจะวิบัติแลมิได้วิบัตินั้นก็อาไศรยแห่งสมุฏฐานนี้ เปนที่บำรุงว่าจะให้วัฒนะแลหายะนะโดยแท้ ดุจพิกัตกล่าวไว้ดังนี้
๓ สมุฏฐานเปน ๒๙ องษา มีเศษ ๑ บมิควรแก่นับ ด้วยเหตุว่าเปนองษาอดีต อนาคตระคน ถ้าจะนับก็ ๓๐ องษา คือเดือน ๑ สงเคราะห์ให้แจ้งในโทษอันจะประชุมกล่าวคือกองสันนิบาต ถ้ากำลังสมุฏฐานทั้ง ๓ นี้ระคนกันเข้าเมื่อใด จัดได้ชื่อว่าพิกัตกองสันนิบาตเมื่อนั้น

คำถาม ? “  ด้วยกายแห่งบุคคลทั้งหลายนี้เป็นที่ตั้งแห่งกองสมุฏฐาน
สมุฏฐานเป็นที่ตั้งแห่งกองธาตุ
ธาตุเป็นที่ตั้งแห่งกองโรค
โรคเป็นที่ตั้งแห่งกองอาหาร ( ยา )
ดังนี้ ถ้าจะแก้ ให้แก้ในกองสมุฏฐานเป็นอาทิ
เหตุว่า สมุฏฐานนี้เป็นที่ตั้งแห่งโรคทั้งหลาย  “
ขออธิบายพอสังเขปดังนี้
“  ด้วยกายแห่งบุคคลทั้งหลายนี้เป็นที่ตั้งแห่งกองสมุฏฐาน  “
หมายความว่า   หากเราพิจารณาสภาวะสภาพร่างกายของเราที่ประกอบไปด้วยธาตุทั้ง ๔ นั้น หากพิจารณาต่อไปอีกจนหมดสภาวะของรูปธาตุทั้ง ๔ แล้ว จะพบว่าร่างกายของเราก่อเกิดมาจากพลังของธรรมชาติ หรือที่เราเรียกว่า สมุฏฐาน     ( ปิตตะ วาตะ เสมหะ ) นั้นเอง
“  สมุฏฐานเป็นที่ตั้งแห่งกองธาตุ  “
หมายความว่า  รูปธาตุ หรือกองธาตุทั้ง ๔ นั้น ก่อเกิดมาจากพลังทางธรรมชาติ หรือก่อเกิดมาจากสมุฏฐาน  ปิตตะ วาตะ เสมหะ นั้นเอง
“  ธาตุเป็นที่ตั้งแห่งกองโรค  “
หมายความว่า  กองโรคที่เกิดกับมนุษย์นั้น  สรุปได้ ๓ ประการคือ
๑. ปิตตะสมุฏฐานอาพาธา  
๒. เสมหะสมุฏฐานอาพาธา  
๓. วาตะสมุฏฐานอาพาธา   
การที่คนเราจะเกิดโรคหรือเจ็บป่วยนั้น เหตุเพราะเกิดการเสียสมดุลของสมุฏฐาน   ปิตตะ วาตะ เสมหะ ในธาตุใดธาตุหนึ่ง ตัวเดียวหรือหลายตัวก็ได้ ในธาตุทั้งหมด ๔๒ ประการ  (  ธาตุดิน ๒๐ น้ำ ๑๒ ลม ๖ ไฟ ๔ )  หรือเราจะเรียกอีกอย่างได้ว่า  “  เมื่อสมุฏฐาน ( ปิตตะ วาตะ เสมหะ ) ของธาตุ ทั้ง ๔ เสียสมดุล ความเจ็บป่วยก็ตามมา “  ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ธาตุเป็นที่ตั้งแห่งกองโรค
“  โรคเป็นที่ตั้งแห่งกองอาหาร ( ยา )  “
หมายความว่า  เมื่อเกิดป่วยหรือเกิดโรค และเราได้ตรวจและวินิจฉัยได้แล้วว่ามีสาเหตุมาจากสมุฏฐานใดในธาตุใดใน ๔๒ ประการ เราจึงจะสามารถกำหนดอาหารหรือยา จัดให้ผู้ป่วยได้โดยพิจารณาจากสมุฏฐานของอาหารและยาให้สอดคล้องกับสมุฏฐานของโรค
“  ดังนี้ถ้าจะแก้ ให้แก้ในกองสมุฏฐานเป็นอาทิ
เหตุว่า สมุฏฐานนี้เป็นรากแก้วแห่งโรคทั้งหลาย  “
หมายความว่า  ในการเป็นหมอนั้น  เมื่อจะทำการ ตรวจ วินิจฉัย จ่ายยา หรือแนะนำอาหาร เพื่อรักษาบำบัดผู้ป่วยให้หายจากโรค นั้น ต้องพิจารณาสมุฏฐาน ( ปิตตะ วาตะ เสมหะ ) ไว้เป็นหลักคิด เพราะสมุฏฐาน ( ปิตตะ วาตะ เสมหะ ) นี้ เป็นรากแก้วแห่งโรคทั้งหลาย 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น