วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ลดการเกิดสิว


การล้างหน้าตามแนวโพรงขน ช่วยลดการเกิดสิว

โดยทฤษฎีการล้างหน้าตามแนวขนนี้ เจ้าของทฤษฎีคือ คุณหมอสมนึก อมรสิริพาณิชย์ กล่าวว่า ทุกครั้งที่ต้องทำอะไรกับผิวหนังไม่ว่าจะเป็น ที่หน้าหรือตัวก็ต้องกระทำ ไปตามแนวโพรงขน ทั้งหมดครับ
สำหรับคนที่บอกว่าล้างหน้าตามแนวโพรงขนแล้วรู้สึกเป็นมากกว่าเดิมนั้นให้อด ทนและทำ ต่อเนื่องหลายเดือนจึงจะเห็นผลส่วนรอยที่ไม่หายอาจจะต้องพบแพทย์เพื่อทำการ รักษา เพราะการล้างหน้าที่ถูกต้องเป็นเพียงการทำความสะอาดผิวหน้าเบื้องต้นเท่านั้น ส่วนสิวที่เป็นแล้ว และเป็นมาก ๆ หรือเป็นสิวที่ผิดธรรมชาติอาจต้อง ใช้ การรักษาอื่นๆเข้าช่วยเหลือ ทฤษฎีล้างหน้าตามแนวขนเป็นทฤษฎีที่คิดค้นมานานเกือบสิบปี เป็นการเก็บภาพการพัฒนาสิวแต่ละขั้นจนหลุดออกไปโดยมีการใช้ภาพขยายจากกล้องจิ๋วมาช่วยในการคิดค้น
โพรงขนสำคัญยังไง ? ” เป็นแกนให้ใยคอลลาเจนและอิสลาสตินมายึดโยงเพื่อเชื่อมเป็นเครือข่ายยึดให้ ผิวหนังคงสภาพยืดหยุ่นและแข็งแรงดังที่เป็นอยู่ ”   โพรงขนบนใบหน้ามีประมาณ 100,000 โพรง    
ข้อดี
1.การระบายของน้ำมันและสิ่งสกปรกในโพรงสิวอย่างหมดจด การหลุดลอก จะไม่เกิดจากการหนาตัวของเซลล์ผิวตามมา
2.การไหลเวียนของเลือดใต้ผิวหนังนั้นเป็นไปตามธรรมชาติ
3.ฝ้าจะเกิดได้ยากขึ้น
4.เซลล์ผิวหนังที่อักเสบ
5.ไม่เกิดการบวมของชั้นผิวบางชั้น
การที่เกิดเป็นก้อนอุดตัน สิวอุดตันเช่นนี้ก็เกิดจากการที่เราล้างหน้าวนหรือเอามือไปถูทำให้เนื้อเยื่อจับเป็นก้อนเหมือนกับเราปั้นกระดาษเป็นก้อนแล้วห่อเป็นชั้นๆ การล้างไปตามแนวโพรงขนเพื่อให้เยื่อเหล่านี้จะได้สลายและหลุดออกมาได้ตามธรรมชาติ

เวลาเท่าไหร่จึงเห็นผล
ประมาณ 3 เดือน คำแนะนำเหล่านี้ประกอบกับการไม่กด สิว เจาะสิว การแกะ การกด บีบ หรือ เจาะ ก็เป็นการทำลายโครงสร้างของโพรงขน


ขอบคุณ คุณหมอสมนึก อมรสิริพาณิชย์
ขอบคุณภาพ คุณวันเพ็ญ วุฒิฐิโก จาก gotoknow.org

วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การตรวจโรคแบบแผนไทย


บทว่าด้วยการตรวจโรคโดยทั่วไป
เพื่อหาสมุหฐานวินิจฉัย(ที่ตั้งแรกเกิดและการดำเนินของโรค) 
การตรวจปิตตะ การเปลี่ยนแปลงของความร้อนโลหิต ทำให้ความร้อนนั้นแผ่ซ่านไปทั่วร่างกาย ให้จับสัมผัสผู้ป่วยในบริเวณหน้าผาก ข้างลำคอ รักแร้  ปลายมือ  ปลายเท้า เป็นต้น  หรือให้ผู้ป่วยถอดเสื้อแล้วนอนราบกับพื้นห้องสักประมาณ ห้านาที พลิกตัวผู้ป่วยแล้วจับพื้นห้องสัมผัสความร้อน   หากแพทย์ตรวจพบปิตตะ ให้รุปิตตะนั้นเสียก่อนจึงรักษาอาการอื่นๆต่อไป
การตรวจชีพจร ถ้าปฐมวัย หัวใจจะต้องเต้นเร็วกว่าวัยผู้ใหญ่  เพศหญิงเต้นเร็วกว่าเพศชาย  ให้แบ่งการเต้นของขีพจรออกเป็น ๓ ระดับดังนี้
ถ้าชีพจรเต้นลักษณะ แรงและเร็ว                        มักเกิดจากอาการพิษต่างๆ
ถ้าชีพจรเต้นลักษณะ ช้าแต่แรง                          มักเกิดอาการอ่อนเพลียระเหี่ยใจ
ถ้าชีพจรเต้นลักษณะ เร็วแต่อ่อน                         มักเกิดอาการอ่อนระโหยโรยแรง
การตรวจจากสีผิวหนัง หากผู้ป่วยมีสีผิวซีดเหลือง ตาเหลืองออกเขียว  ระบบน้ำดีจะพิการ  หากผิวหนังเหลืองแต่แห้งกรัง ริมฝีปากก็แห้ง เหตุเพราะเลือดพิการ  หากผิวหนังมีผื่นแดง  เหตุด้วยเลือดเป็นพิษ
การตรวจจากเส้นโลหิตในตา หากผู้ป่วยมีเส้นเลือดในตาน้อย  เปลือกตาซีด  ตาออกโรยๆ เกิดแต่เส้นประสาทพิการ  หรือนอนไม่หลับ หรือมักจะเป็นลมเนืองๆ หรือท้องผูกประจำ  หากตาซีดขาวโรย  เปลือกตาเผือดดำหรือตาเขียวขุ่น  เลือดน้อย  ดีพิการ ประสาทพิการ  นอนไม่พอนอนไม่หลับ  หรือไข้จับ
การตรวจตามอวัยวะภายนอก หากผู้ป่วย มีอาการมือ/เท้า/ริมฝีปาก สั่น เหตุเพราะเส้นประสาทพิการ
การตรวจจากอุจจาระ หากผู้ป่วยถ่ายเป็นสีดำ/แดง/ขาว/เขียว
การตรวจจากปัสสาวะ ถ้าสีแดง  ดีและโลหิตพิการ   ถ้าสีเหลืองแก่  ดีพิการ  ถ้าสีขุ่นสีชาแก่ ไตพิการ เบาหวาน
การตรวจจากลิ้น ถ้าลิ้นเป็นฝ้าละออง  ไข้ธรรมดา/โรคลำไส้กระเพาะอาหาร/ไข้พิษ  ถ้าลิ้นแตกแห้งเป็นเม็ด  แสดงออกถึงอาการไข้ทุกชนิด
การตรวจจากปาก หากปากเหม็น โรคฟัน โรคกระเพาะอาหาร ท้องอืดเฟ้อเรอเหม็นเปรี้ยว  หากปากแตกระแหง  เลือดร้อนเป็นไข้


                                                      การตรวจวินิจฉัย 

รูปร่างเป็นอย่างไร 
มีกำลังเป็นอย่างไร
                                       มีสติ อารมณ์อย่างไร
มีอาการกระวนกระวายเพียงไร   
ตรวจชีพจร
ตรวจการหายใจ
ตรวจสีผิว/ตา/ลิ้น/
ปิตตะที่กายภายนอก
ตรวจเหงื่อ  
                                  ตรวจอุจาระ/ปัสสาวะ  
ตรวจเสียงที่เปล่ง 
ตรวจกลิ่นปากกลิ่นกาย  
ตรวจการทานอาหาร
ตรวจการใช้ชีวิต 
ตรวจจากอริยาบทในการทำงาน
ตรวจจากธาตุจุติ 
ตรวจจากธาตุปัจจุบัน

ตรวจจากอายุสมุหฐาน  
เมื่อเทียบกับลักษณะประจำธาตุจุติ เพื่อดูกำเริบ/หย่อน
อ่อนเปลี้ยเพลียแรง/อ่อนระโหยโรงแรง/อ่อนอกอ่อนใจ/อ่อนเพลียระเหี่ยใจ
เพื่อดูอาการทางใจประกอบการวินิจฉัย
เพื่อดูอาการทางใจประกอบการวินิจฉัย
เพื่อหาสมุหฐานวินิจฉัย หทัยวาตะ ณ.ปัจจุบันขณะ
เพื่อหาสมุหฐานวินิจฉัย อุระเสมหะ
เพื่อหาอาการทางปิตตะ
                                                                                       
เพื่อดูความใส ความหนืดของเหงื่อ แสดงออกถึงปิตตะ       และเสมหะ
เพื่อสมุหฐานว่าเกิดแต่ ปิตตะ วาตะ หรือเสมหะ
เพื่อหาอาการทางศอเสมหะ
เพื่อดูอาการทางคูถเสมหะ  ลมกองหยาบ
เพื่อหาแนวโน้มการเจ็บป่วย
เพื่อหาแนวโน้มการเจ็บป่วย
เพื่อหาแนวโน้มการเจ็บป่วย
เพื่อหากำเริบ หย่อน เมื่อเทียบกับธาตุจุติ
เพื่อหาอาการป่วยว่าน่าจะมาจาก ปิตตะ/วาตะ/เสมหะ
เพื่อดูการเจ็บป่วยกำเริบจากอายุเป็นเหตุ
          เมื่อตรวจวินิจฉัยแล้ว ให้สรุปหาสมุหฐาน ปิตตะ/วาตะ/เสมหะ  ว่ามีการกำเริบ/หย่อน/พิการหรือไม่   เมื่อทราบสมุหฐานให้หาอาการแยกเป็นอาการหลัก อาการล้อม  แล้วจึงวางแผนการรักษาแบบรุ/ล้อม/รักษา  จากนั้นจึงวางยาเริ่มจากรสของยาเสียก่อน จึงนำตำรับยาเข้าไปใส่ ตามรสของยาที่วางไว้นั้น

รุ คือ การขับเอาพิษออกไปหรือการถ่ายของเสียออก คล้ายอย่างที่ธรรมชาติบำบัดใช้คำว่า ล้างพิษ
ล้อม คือ การล้อมเพื่อถนอมกล่อมเกลี้ยงให้โรคตกเข้ามาในสภาพแวดล้อมที่เราต้องการเสียก่อน(การ     จัดการกับอาการข้างเคียงของโรคให้ตกไป) และใช้ยาเพื่อการรักษาจึงจะเกิดผลให้ผู้ป่วยหายจากโรค
ซึ่งการรุ/ล้อม/รักษา เป็นศิลปะของการรักษาแบบแผนไทยที่มีมาแต่โบราณ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.yahomthai.com

สรุปคัมภีร์อภัยสันตา

คัมภีร์อภัยสันตา   โรคเกี่ยวกับตา  ทุกชนิด มี ๒๑ ประการ
1.ริดสีดวง
งอกเหมือนฟองปลา
2.ต้อแนะ  
ตาแดง น้ำตาไหล  (เพื่อโลหิต)
3.ต้อ ฝี   ตามัวมองแสงไม่ได้(เพื่อสันนิบาต)
4.ตาฟางกลางคืน  (เพื่อกำเดา)
5.ต้อวาโย  
ตาดุจเยื่อไม้
6.ต้อลิ้นสุนัข  แผ่นสีขาวในตาดำ
7.ต้อก้นหอย  เป็นระลอก  หลุมตรงกลาง
8.ต้อเนื้อ  
เยื่อขาวที่หัวตา
9.ต้อแววนกยูง ตามันดังเยื่อลำใย
10.ต้อลาย  
เห็นเป็นแววอยู่กลางตาดำ
11.ต้อหิน  
เป็นก้อนขาว  กลางตาดำ
12.ต้อมะเกลือ  เหมือนผิวมะกรูด(เกิดเพื่อดี)
13.ต้อไฟ  
ตาแดงดังผลมะกล่ำ เคืองมาก
14.ต้อหูด  ตาดำจุดขาวแข็งเหมือนกระดูก
15.ต้อสีผึ้ง   เยื่อขาวรอบตาดำ
16.ต้อข้าวสาร  คล้ายเม็ดข้าวสารกลางตาดำ
17.,18,19,ต้อแก้ว,ต้อสลัก,ต้อกงเกวียน  เป็นจุดที่หัวตาดำ
20.ต้อหมอก  แลดูเห็นเป็นวงกลม กลางตาดำตามัว เป็นฝ้าขาว  ในตาดำ  ตาบวมปวด      เป็นเดือน    5-6-7-8  เกิด เพื่อโลหิต
                                  เป็นเดือน    9-10-11-12    เกิดเพื่อ  กำเดา
                     เป็นเดือน   1-2-3-4  เกิดเพื่อเสมหะ
21. ต้อกระจก
ให้มองเห็นเป็นใยขาวผ่านตาดำ ให้ร้อนฝ่าเท้าเป็นประมาณ  15 วัน ใยขาวจะกลบตาดำ   มีสีเหลืองตรงจุดกลาง
ต้อกระจก   7  ประการ    1.ต้อนิลกระจก 2.ต้อกระจกนกยูง  3.ต้อกระจกหลังเบี้ย   4.ต้อกระจกปรอท 5.ต้อกระจกหิ่งห้อย  6.ต้อกระจกแดง 7.ต้อกระจกขาว
อาการ  เกิดเป็นลมขึ้นที่ฝ่าเท้า  เมื่อยแต่เท้าถึงคอ    เป็นอยู่ 2-3  ปี  แล้วปวดศีรษะ  ดังจะแตกแล้วมีจุดขึ้นที่ตาดำ

หมายเหตุ ในการอ่านสรุปคัมภีร์ ควรอ่านเนื้อหาในหนังสือทั้งหมดก่อนอย่างน้อย ๑ รอบ แล้วมาอ่านสรุปจะทำให้เข้าใจ ภาพรวมทั้งหมดยิ่งขึ้น
ข้อสอบในคัมภีร์อภัยสันตา
1.   โรคตาชนิดไหน ที่เจ็บกระบอกตาเวลานอน ตาเป็นดุจเยื่อไม้?
                1.   ต้อฝี                     2.   ต้อก้นหอย
                3.   ต้อวาโย                4.   ต้อกระจก 
2.  ต้อแววนกยูง มีลักษณะอย่างไร
    ก.  เป็นแววอยู่กลางตาดำ                                          ข.  ตามันดังเยื่อลำไยขาว
   ค. เห็นเป็นก้อนขาวเป็นเงาอยู่กลางตาดำ              ง.  ตาดำเป็นจุดขาวแวววาวดังขนนกยูง
3.  ลมจำพวกใดเกี่ยวข้องกับโรคตา
    ก.  ลมสูบพิษขึ้นไส้                                           ข .  ลมให้ตาฟางกลางคืน เกิดเพื่อกำเดา
    ค.  ลมตุลาราก                                                     ง.  ลมบาทาทึก    
4.  นางชอบ อายุ 78 ปี เริ่มมีอาการตามัวเป็นฝ้าขาวในตาดำ ตาบวมปวด ในช่วงเดือน เมษายน เป็นมา1-  2 เดือน อยากทราบว่านางชอบป่วยเป็นโรคใด ในคัมภีร์อภัยสันตา
    ก.  ต้อหมอก เกิดขึ้นเพื่อโลหิต                                 ข.  ต้อหมอก เกิดขึ้นเพื่อกำเดา
    ค.  ต้อหมอก เกิดขึ้นเพื่อเสมหะระคนกัน              ง.  ต้อหูด เกิดขึ้นเพื่อโลหิตและลม
5.  นายสมศักดิ์ มีอาการมองเห็นเป็นใยขาวผ่านตาดำ ให้ร้อนฝ่าเท้า หลังจากนั้นประมาณ 15 วัน  ใยขาวจะกลบตาดำมีสีเหลืองตรงจุดกลาง จากอาการดังกล่าว ผู้ป่วยเป็นโรคอะไรตามคัมภีร์อภัยสันตา
    ก.  ต้อหิน                                                            ข.  ต้อกระจก
    ค.  ต้อเนื้อ                                                            ง.  ต้อหมอก
6.  ข้อใดต่อไปนี้เป็นอาการของต้อข้าวสาร
    ก.  ลูกตาดำเป็นจุดขาวแข็งดุจกระดูก และพองออกมา
    ข.  เป็นจุดขาวแหลมนูนคล้ายเมล็ดข้าวสารอยู่กลางตาดำ ปวดแสบ เคืองในลูกตามาก
    ค.  ในลูกตาแดงดังผลมะกล่ำ ปวดเคืองมาก
    ง.  เป็นขาวๆ อยู่รอบๆ ตาดำ
7  .  อาการต่อไปนี้ เป็นอาการของต้อกระจก 7 ประการ ยกเว้น ข้อใด
    ก.  ลมขึ้นที่ฝ่าเท้า                                                ข.  ปวดศีรษะ
    ค.  มีจุดขึ้นที่ตาขาว                                            ง.  เมื่อยตั้งแต่เท้าจนถึงคอ
8.  อาการเมื่อยตั้งแต่เท้าจนถึงคอ เมื่อมีอาการมานานปวดศีรษะร่วมด้วย เป็นลมชนิดใด
    ก.  ลมอุทธังคมาวาตา                                      ข.  ลมอโธคมาวาตา
    ค.  ลมกุจฉิสยาวาตา                                         ง.  ลมโกฏฐาสยาวาตา
9. นายชัย  อายุ 40 ปี มีอาชีพหากบในตอนกลางคืน แต่นายชัยมีอาการมองในที่มืดไม่ค่อยชัด และยัง   ไม่ชอบรับประทานฟักทอง แครอท จึงได้ไปรักษากับแพทย์แผนปัจจุบัน และวินิจฉัยว่า   ขาดวิตามินเอ แพทย์จึงให้ยามารับประทาน จากอาการดังกล่าว เทียบเป็นโรคทางแผนไทยได้ว่าอะไรในคัมภีร์อภัยสันตา
    ก.  ต้อแนะ เกิดเพื่อโลหิต                                         ข .  ตาฟางกลางคืน เกิดเพื่อกำเดา
    ค.  ต้อก้นหอย                                                              ง.  ต้อหิน

สรุปคัมภีร์อติสาร


พระคัมภีร์อติสาร
โรคฝีภายใน  ว่าด้วยสาเหตุและการปฏิบัติตัวที่มีผลต่อการเกิดโรคฝี ลักษณะอาการของฝีที่จำแนกตามแหล่งที่เกิดฝีคัมภีร์อติสาร ว่าด้วยโรคฝีในช่องท้อง มีอาการให้อาเจียน ขับถ่ายอุจจาระปัสสาวะลักษณะต่างๆ เหตุจากกองลมและกองธาตุ แบ่งเป็นปัจจุบันกรรมอติสาร และโบราณกรรมอติสาร เป็นโรคที่มีอาการหนักมากถึงระยะใกล้ตาย
อติสาร  มี  ๒ จำพวก คือ  ปัจจุบันกรรมอติสาร ๖ ประการ   โบราณกรรมอติสาร มี ๕ ประการ                                             





ปัจจุบันกรรมอติสาร
.อุทรวาตอติสาร     เพื่อขั้วสะดือพอง ให้ท้องขึ้นมิรู้วาย
. สุนทรวาตอติสาร  ลมพัดในกระหม่อม ยังไม่ปิด บังเกิดโทษให้ไส้พองท้องใหญ่ ลงกล่อนแล้วเป็นมูกเลือด  มักแปรเป็นมาน  ๕ ประการ มานเลือด    มานลม  มานหิน   มานน้ำเหลือง (มานน้ำ)   มานกษัย (มานน้ำ)
.ปัสสยาวาตอติสาร เกิดแต่กองอชิน ให้ลงดุจกินยารุ  อาเจียนเป็น สี เหลือง  เขียว  สมมุติ  ป่วง ๕  ประการมีป่วงน้ำ   ป่วงสุนัข   ป่วงลม   ป่วงหิน  ป่วงวานร
ป่วง ๗ ประการ
ป่วงลม ลงไม่มาก เสียดสีข้าง จุกอก รากออกแต่น้ำลาย
ป่วงหิน รักษายาก ให้ลง ให้ราก เมื่อยข้อ หนังเหี่ยว พูดไม่ชัด ให้สลบ
ป่วงวานร ให้ยิงฟัน หนาวคางสั่นแน่นหน้าอก ราก ลง ปกติ อย่างเดียว ริมฝีปากเขียว ขอบตาซีด
ป่วงงู ให้ราก ลง ไม่หยุด ให้บิดตัว ตาปรอย เข้าสี่ยามจะตาย หรือเป็นสันนิบาตสองครอง
ป่วงลูกนก ให้ลง ให้ขนลุก ปวดท้อง ท้องลั่น หาวเรอ อ้าปากคล้ายลูกนก
ป่วงเลือด ให้ลงไหล หอบ เหนื่อยเพ้อ ตาซึม กายเหลือง เหมือนเป็นไข้สันนิบาต เจ็ดวันตาย
ป่วงโกศ  เกิดเพราะโทษลมกษัยกร่อน ให้ลง  ราก ร้อนทั้งลำคอ มือ เท้าซีดเหี่ยว เหงื่อตก  ต้นเล็บเป็นโลหิตคล้ำ
.โกฏฐาสยาวาตอติสาร เกิดตามลำไส้ บริโภคสิ่งใดลงเป็นสิ่งนั้น
.กุจฉิสยาวาตอติสาร   เกิดนอกลำไส้ ให้ลงท้องเหม็นคาวไหลออกมาเอง
.อุตราวาตอติสาร  เกิดแต่ลม ๑๖ จำพวก ให้ลงเป็นมูกเลือด เป็นบิด
โบราณกรรมอติสาร  เกิดแต่กองอชิน มี๔ ประการ (โรคเรื้อรังเกิดจากการบริโภคอาหาร แสลงกับโรค, แสลงกับธาตุ / ธาตุอติสารมี ๕ประการ
กองอชิน ๔
เสมหะอชิน   ให้ลงเวลาเช้า  อุจจาระขาว   เหม็นคาว ระคนด้วยปะระเมหะ ให้ปวดคูถทวาร พ้นกำหนด  ๑๒ วัน กลายเป็น  อมุธาตุอติสาร    (เป็นปฐมอติสารชวร)
ธาตุอติสาร ๕
.อมุธาตุอติสาร  เกิดในกองเตโช ชื่อปรินา  หย่อนไม่เผาอาหาร    ให้ลงนับเวลามิได้ สิ้นอาหาร ลงเป็นน้ำล้างเนื้อ ให้ ปากแห้ง คอแห้ง
ปิตตะอชิน   ให้ลงเวลากลางวัน  อุจจาระแดง   กลิ่นดังปลาเน่า  ปากแห้ง คอแห้ง พ้นกำหนด  ๗ วัน กลายเป็น  รัตตธาตุอติสาร(เป็นทุติยะอติสารชวร)
.รัตตธาตุอติสาร  เกิดแต่กองปถวี   ให้ลงประมาณมิได้  แดงดังโลหิตเน่า มีเสมหะระคน  บางทีเขียวเป็นใบไม้ (ลงแดง,ลงเขียว)
วาตะอชิน ให้ลงเวลาพลบค่ำ  อุจจาระสีคล้ำ กลิ่นเปรี้ยว เหม็นยิ่งนัก   ให้แน่นอกคับใจคลื่นเหียนอาเจียนแต่ลม พ้นกำหนด  ๑๐ วัน กลายเป็น  ปฉัณณธาตุอติสาร(เป็นตะติยะอติสารชวร)
.ปฉัณณธาตุอติสาร  ให้ลงเป็นน้ำชานหมากและน้ำแตงโม ให้จุกแดกแน่นในลำคอ กินไม่ได้ อาเจียนลมเปล่า
สันนิปาตะอชิน ให้ลงเวลากลางคืน  ให้ลงไม่สะดวก  อุจจาระดำ  แดง  ขาว เหลือง  ระคนกัน  กลิ่นเปรี้ยว เหม็นยิ่งนัก   ให้สะบัดร้อน สะบัดหนาว เท้าเย็นตัวร้อน พ้นกำหนด  ๒๙ วัน กลายเป็น มุศกายธาตุอติสาร และกาฬธาตุอติสาร (เป็นจตุถะอติสารชวร)
.มุศกายธาตุอติสาร  เกิดแต่กอง อาโป  กินอาหารสำแลงธาตุให้เป็นโลหิต เสมหะ เน่าเหม็นดังกลิ่นศพ  กุจฉิแลโกฏฐา ปะทะกัน  ให้ท้องขึ้นปะทะหน้าอก  ให้แน่น หน้ามืด
 กาฬธาตุอติสาร  (กาฬทั้ง๕)  
กาฬพิพิธ  เกิดแต่ขั้วตับ  ให้ลงเป็นเลือดสดๆ ๕วันเป็นเสลดเน่า
กาฬพิพัธ  เกิดในขั้วหัวใจ  ให้ลงดุจน้ำล้างเนื้อ เมือกมันเน่าเหม็นเหมือนซากศพ
กาฬมูตร  เกิดอยู่ในตับ อุจจาระเน่า ดำ เป็นก้อน เป็นลิ่ม ดังถ่าน  กินปอดให้กระหาย กินม้ามให้หลับคล้ายปีศาจสิง
กาฬสูตร      ให้ลงสีดำ  สีคราม  สีเขียวคล้ำ กลิ่นดังดินปืน  
กาฬสิงคลี  เกิดแต่ดี  ให้ซึมรั่วล้นไป  อุจจาระ,ปัสสาวะ เนื้อตัว  กระดูก สีเหลืองใส ๓ วันตาย  

หมายเหตุ ในการอ่านสรุปคัมภีร์ ควรอ่านเนื้อหาในหนังสือทั้งหมดก่อนอย่างน้อย ๑ รอบ แล้วมาอ่านสรุปจะทำให้เข้าใจ ภาพรวมทั้งหมดยิ่งขึ้น

ตัวอย่างข้อสอบ

ข้อ 1.  ฝีที่เกิดในขั้วตับ ถ่ายออกมาเป็นเลือดสดๆได้ 4-5 วัน จึงกลับกลายเป็นเลือดและเสลดเน่าเรียกว่าอะไร
                 1.   กาฬพิพัธ                 2.   กาฬพิพิธ
                 3.   กาฬมูตร                  4.   กาฬสูตร
ข้อ 2.  ข้อใดจัดอยู่ในปัจจุบันกรรมอติสาร
              1.   อุตราวาตอติสาร                2.   อมุธาตุอติสาร
              3.   มุศกายธาตุอติสาร              4.   รัตตธาตุอติสาร
ข้อ 3.  คนไข้เมื่อพิการ ทำให้แข็งกระด้างตึงขา ผิวหนังเหี่ยวแห้งแข็งดังท่อนไม้ เปรียบดังอสรพิษขบกัดคือข้อใด
              1.   ปถวีธาตุ               2.   อาโปธาตุ
              3.   วาโยธาตุ               
4.  เตโชธาตุ  
ข้อ 4.  ถ้ากินปอดให้กระหายน้ำ ให้หอบ ถ้ากินม้าม ให้หลับอาการคล้ายปีศาจสิง หมายถึงอาการของอะไร
                1.   กาฬพิพัธ                2.   กาฬพิพิธ
               3.   กาฬมูตร                4.   กาฬสิงคลี  
ข้อ 5.  ฝีที่เกิดในขั้วตับ ถ่ายออกมาเป็นเลือดสดๆได้ 4-5 วัน จึงกลับกลายเป็นเลือดและเสลดเน่าเรียกว่าอะไร
                    กาฬพิพัธ                   2.   กาฬพิพิธ
                 3.   กาฬมูตร                  4.   กาฬสูตร


วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สุมฏฐานวินิจฉัย(ต่อ)


คัมภีร์สมุฏฐานวินิจฉัยนี้ เปนตราชูแห่งคัมภีร์เวชศาสตร์ทั้งหลาย เปนหลักเปนประธานอันใหญ่ยิ่งฦกซึ้งคัมภีรภาพ นัก มิอาจที่บุคคลจะหยั่งรู้ได้โดยง่าย ถ้าแลแพทย์ผู้ใดมิได้เรียนพระคัมภีร์นี้ จะวางยา ก็บมิอาจที่จะได้ (ถูก) ต้อง กับโรคโดยแท้ เหตุว่ามิได้รู้ในกองสมุฏฐานพิกัตอันนี้ แพทย์ผู้นั้นได้ชื่อว่ามิจฉาญาณแพทย์ 

กองพิกัตสมุฏฐาน ๔ ประการนั้น คือธาตุสมุฏฐาน ๑ ฤดูสมุฏฐาน ๑ อายุสมุฏฐาน ๑ กาลสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐานทั้ง ๔ ประการนี้ แพทย์ทั้งหลายพึงเรียนไว้ให้แจ้งในมหาพิกัตสมุฏฐาน เปนที่ตั้งแห่งภูมิโรคแลภูมิแพทย์ทั้งปวง

สมุฏฐานธาตุทั้ง ๔ หรือกองธาตุสมุฏฐาน มีเตโชธาตุ เปนต้น มีปถวีธาตุเปนที่สุด
เตโช วาโย อาโปและปถวี ทั้ง ๔ กองนี้เปนมหาพิกัตสมุฏฐานธาตุหมวดหนึ่ง แพทย์พึงรู้ไว้ดังนี้
คิมหันตะฤดูสมุฏฐานนั้น เปนพิกัตแห่งปิตตะสมุฏฐานให้เปนเหตุ 

ปิตตะสมุฏฐาน วาตะสมุฏฐาน เสมหะสมุฏฐาน
สมุฎฐานโรค มีสมุฎฐานสาม คือปิตตะ  วาตะ เสมหะ คือ ลม ดี เสลด เป็นสาเหตุสำคัญ หากสมุฎฐานใด,หนึ่งในสามธาตุนี้ผิดปกติไป ก็กระทบกับธาตุสมุฎฐานทั้งสองแล้วกระทบต่อธาตุดินในที่สุด 
ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก .http://www.medimind.net/สาเหตุการเกิดโรค/ธาตุสมุฏฐาน.html  

สมุฎฐานมหาภูตรูปสี่
ว่าด้วยสมุฎฐานมหาภูตรูปสี่ ละสาม ละสาม กับการเกิดโรคในร่างกายเรา
พิเศษสมุฏฐาน แล ๓ แล ๓ เช่นคิมหันตะสมุฏฐาน มี ๔เดือนแบ่งเป็นช่วงละ ๔๐ วัน คือแรมค่ำหนึ่งเดือน ๔ ไปจนแรม ๑๐ ค่ำเดือน ๕ เปนตำแหน่งพัทธะปิตตะสมุฏฐาน แลพัทธะปิตตะจะได้ทำเองนั้นหามิได้ อาไศรยจตุกาลเตโชกองใดกองหนึ่งก็ดี ระคนพัทธะปิตตะสมุฏฐานเหตุว่าเปนเจ้าของ ถ้าจะแก้อย่าให้เสียเดิมเปนอาทิโดยพิกัตเป็นต้น
ท่านจึ่งจัดไว้ว่าใน ๔ เดือนนี้เปนกำหนดคิมหันตะสมุฏฐานแห่งกำเดา ด้วยว่ากำเดานี้คือเปลวแห่งวาโย โลหิตเสมหะแลสรรพคุณสมุฏฐานทั้งปวง ซึ่งจะวิบัติแลมิได้วิบัตินั้นก็อาไศรยแห่งสมุฏฐานนี้ เปนที่บำรุงว่าจะให้วัฒนะแลหายะนะโดยแท้ ดุจพิกัตกล่าวไว้ดังนี้
๓ สมุฏฐานเปน ๒๙ องษา มีเศษ ๑ บมิควรแก่นับ ด้วยเหตุว่าเปนองษาอดีต อนาคตระคน ถ้าจะนับก็ ๓๐ องษา คือเดือน ๑ สงเคราะห์ให้แจ้งในโทษอันจะประชุมกล่าวคือกองสันนิบาต ถ้ากำลังสมุฏฐานทั้ง ๓ นี้ระคนกันเข้าเมื่อใด จัดได้ชื่อว่าพิกัตกองสันนิบาตเมื่อนั้น

คำถาม ? “  ด้วยกายแห่งบุคคลทั้งหลายนี้เป็นที่ตั้งแห่งกองสมุฏฐาน
สมุฏฐานเป็นที่ตั้งแห่งกองธาตุ
ธาตุเป็นที่ตั้งแห่งกองโรค
โรคเป็นที่ตั้งแห่งกองอาหาร ( ยา )
ดังนี้ ถ้าจะแก้ ให้แก้ในกองสมุฏฐานเป็นอาทิ
เหตุว่า สมุฏฐานนี้เป็นที่ตั้งแห่งโรคทั้งหลาย  “
ขออธิบายพอสังเขปดังนี้
“  ด้วยกายแห่งบุคคลทั้งหลายนี้เป็นที่ตั้งแห่งกองสมุฏฐาน  “
หมายความว่า   หากเราพิจารณาสภาวะสภาพร่างกายของเราที่ประกอบไปด้วยธาตุทั้ง ๔ นั้น หากพิจารณาต่อไปอีกจนหมดสภาวะของรูปธาตุทั้ง ๔ แล้ว จะพบว่าร่างกายของเราก่อเกิดมาจากพลังของธรรมชาติ หรือที่เราเรียกว่า สมุฏฐาน     ( ปิตตะ วาตะ เสมหะ ) นั้นเอง
“  สมุฏฐานเป็นที่ตั้งแห่งกองธาตุ  “
หมายความว่า  รูปธาตุ หรือกองธาตุทั้ง ๔ นั้น ก่อเกิดมาจากพลังทางธรรมชาติ หรือก่อเกิดมาจากสมุฏฐาน  ปิตตะ วาตะ เสมหะ นั้นเอง
“  ธาตุเป็นที่ตั้งแห่งกองโรค  “
หมายความว่า  กองโรคที่เกิดกับมนุษย์นั้น  สรุปได้ ๓ ประการคือ
๑. ปิตตะสมุฏฐานอาพาธา  
๒. เสมหะสมุฏฐานอาพาธา  
๓. วาตะสมุฏฐานอาพาธา   
การที่คนเราจะเกิดโรคหรือเจ็บป่วยนั้น เหตุเพราะเกิดการเสียสมดุลของสมุฏฐาน   ปิตตะ วาตะ เสมหะ ในธาตุใดธาตุหนึ่ง ตัวเดียวหรือหลายตัวก็ได้ ในธาตุทั้งหมด ๔๒ ประการ  (  ธาตุดิน ๒๐ น้ำ ๑๒ ลม ๖ ไฟ ๔ )  หรือเราจะเรียกอีกอย่างได้ว่า  “  เมื่อสมุฏฐาน ( ปิตตะ วาตะ เสมหะ ) ของธาตุ ทั้ง ๔ เสียสมดุล ความเจ็บป่วยก็ตามมา “  ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ธาตุเป็นที่ตั้งแห่งกองโรค
“  โรคเป็นที่ตั้งแห่งกองอาหาร ( ยา )  “
หมายความว่า  เมื่อเกิดป่วยหรือเกิดโรค และเราได้ตรวจและวินิจฉัยได้แล้วว่ามีสาเหตุมาจากสมุฏฐานใดในธาตุใดใน ๔๒ ประการ เราจึงจะสามารถกำหนดอาหารหรือยา จัดให้ผู้ป่วยได้โดยพิจารณาจากสมุฏฐานของอาหารและยาให้สอดคล้องกับสมุฏฐานของโรค
“  ดังนี้ถ้าจะแก้ ให้แก้ในกองสมุฏฐานเป็นอาทิ
เหตุว่า สมุฏฐานนี้เป็นรากแก้วแห่งโรคทั้งหลาย  “
หมายความว่า  ในการเป็นหมอนั้น  เมื่อจะทำการ ตรวจ วินิจฉัย จ่ายยา หรือแนะนำอาหาร เพื่อรักษาบำบัดผู้ป่วยให้หายจากโรค นั้น ต้องพิจารณาสมุฏฐาน ( ปิตตะ วาตะ เสมหะ ) ไว้เป็นหลักคิด เพราะสมุฏฐาน ( ปิตตะ วาตะ เสมหะ ) นี้ เป็นรากแก้วแห่งโรคทั้งหลาย