วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

หวัดร้อนกับหวัดเย็นต่างกันอย่างไร





แพทย์จีนแผนโบราณคิดว่า ในร่างกายมนุษย์ต้องมีสมดุลของ หยิน - หยาง / เย็น - ร้อน 
ถ้าเสียสมดุลไปก็จะเกิดโรค กรณีของโรคหวัดแพทย์จีนจะมีทั้งหวัดร้อน และหวัดเย็น แยกตามอาการดังนี้
  

ถ้าเป็นไข้หวัดจากความเย็น (ไข้หวัดเกิดจากลม+ความเย็น) มีไข้ต่ำๆ จะไม่มีเหงื่อ คัดจมูก คันคอ น้ำมูกใส ปัสสาวะเข้ม หงุดหงิด ปวดเมื่อยตามแขนขาแบบหนักๆ ลิ้นมีฝ้าสีขาวบาง ชีพจรจะลอยและแน่น คล้ายๆ กับคนที่เริ่มเป็นหวัดใหม่ๆ จากการติดเชื้อไวรัส ในการแพทย์แผนปัจจุบัน เรียกว่า หวัดเย็น 

ถ้าเป็นหวัดจากความร้อน (ไข้หวัดเกิดจากลม+ความร้อน) คล้ายกับโรคติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น คออักเสบ ทอนซิลอักเสบในแผนปัจจุบัน อาการสำคัญคือ มีไข้ ตัวร้อน น้ำมูกไหล แน่นจมูก น้ำมูกจะข้น เหงื่อออก ปวดศีรษะ มือเท้าเย็น คอแห้ง ปากแห้ง ไอเจ็บคอ เสมหะเหลืองข้น กระหายน้ำ ปัสสาวะมาก อ่อนเพลีย ตรวจลิ้นดู มีฝ้าเหลืองบาง ชีพจรลอยและเร็ว ในการแพทย์แผนปัจจุบัน เรียกว่า หวัดร้อน

อาการดังกล่าวข้างต้นสามารถแบ่งได้เป็นยินและหยาง (ดูตามตาราง) 

ลักษณะของอุจจาระ ก็บอกได้ เช่นกันว่า มีอาการร้อนหรือเย็นมากเกินไป
- ถ้าอุจจาระเป็นก้อนแข็ง สีเข้ม กลิ่นเหม็นผิดปกติ แสดงว่ามีอาการร้อน
- ถ้าอุจจาระเหลว ท้องร่วง แสดงว่ามีอาการเย็น
 เมื่อร่างกายป่วยจากการเสียสมดุล ร้อน-เย็น ตามหลักแพทย์แผนจีนจึง ปรับสมดุลคืนมาด้วยการรับประทานอาหารที่มีฤทธิ์ตรงกันข้าม 
ส่วนวิธีดูว่าอาหารใดมีฤทธิ์ใด ให้สังเกตจากรสชาติ
- ถ้ากินผลไม้หรืออาหารชนิดใดมากๆแล้วรู้สึกคอแห้ง เจ็บคอ มีเหงื่อก็แสดงว่ามี ฤทธิ์ร้อน
- ถ้ากินผลไม้หรืออาหารชนิดใดแล้วชุ่มคอ กินมากๆท้องอืดแน่นหน้าอก ก็แสดงว่าเป็นอาหาร ฤทธิ์เย็น



อาหารฤทธิ์เย็น
- มะระ ฟักเขียว บวบ ไช้เท้า ผักกาดขาว หน่อไม้ ดอกไม้จีน รากบัว ผักบุ้ง มะเขือเทศ ขึ้นฉ่าย เห็ดหูหนู เห็ดฟาง ถั่วเขียว ทับทิม เก๊กฮวย ส้ม บัวบก ส้มโอ แตงโม สับปะรด อ้อย มะขาม มะละกอ สาลี่ แห้ว แอ๊ปเปิ้ล มังคุด หอย 
ปลาไหล


อาหารฤทธิ์ร้อน - ข้าวเหนียว หอม กระเทียม พริก พริกไทย ขิง ข่า กะเพรา โหระพา ตะไคร้ เงาะ ลำไย ลิ้นจี่ ทุเรียน ขนุน
ขอบคุณ : pooyingnaka.com
                : มูลนิธิหมอชาวบ้าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น