วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

พรบ.การประกอบโรคศิลปะ

พรบ.วิชาชีพการแพทย์แผนไทยพ.ศ.๒๕๕๖ ดาวน์โหลดข้างล่าง


พรบ.การประกอบโรคศิลปะ ๒๕๔๒

เหตุผล
   
๒๔๖๖ คุ้มครองมหาชนให้ปราศจากอันตรายอันเกิดแต่การประกอบแห่งผู้ไร้ความรู้
   ๒. 
๒๕๔๒ คุ้มครองผลประโยชน์ประชาชนมิให้ได้รับความเสียหาย ไม่ให้มีการแสวงหาผลประโยชน์ หรือใช้วิชาชีพโดยมิชอบ
   ๓. 
มีลักษณะของการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ โดยอาศัยกฎหมายเฉพาะด้าน

นิยาม
๑. 
การประกอบโรคศิลปะ หมายความถึงการกระทำเพื่อให้เกิดผลต่อสุขภาพ (ต้องครบทุกองค์ประกอบ)         

  - 
เป็นการประกอบวิชาชีพ
  - 
เป็นการกระทำต่อมนุษย์ (ไม่รวมสิ่งมีชีวิตอื่น) หรือ
  - 
มุ่งหมายที่จะกระทำต่อมนุษย์ (เช่นการตรวจร่างกาย,การพิมพ์นามบัตร) เกี่ยวกับ
  - 
การตรวจโรค,วินิจฉัยโรค,บำบัดโรค,ป้องกันโรค, การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพ,การผดุงครรภ์

๒. 
การแพทย์แผนไทย (อย่างใดอย่างหนึ่ง)       

  •  ประกอบโรคศิลปะตามความรู้หรือตำราแบบไทยที่ถ่ายทอดและพัฒนาสืบต่อกันมา หรือ
  •   ตามการศึกษาจากสถานศึกษาที่คณะกรรมการรับรอง
  •  ประเมิน
๓. เภสัชกรรมไทย หมายถึงการกระทำด้วยกรรมวิธีการแพทย์แผนไทย ในเรื่อง         

  •  การเตรียมยา, ผลิตยา, ประดิษฐ์ยา, ปรุงยา, จ่ายยาตามใบสั่งยา, การจัดจำหน่ายยา
  •  การเลือกสรรยา, การควบคุมและการประกันคุณภาพยา (เป็นกิจกรรมที่สำคัญ)

๔. 
การผดุงครรภ์ไทย ครอบคลุมกระบวนการเกี่ยวกับการตั้งครรภ์และการคลอด และการส่งเสริมสุขภาพ มารดาและทารกในระยะหลังคลอด

๕. 
ผู้ประกอบโรคศิลปะ ต้องเข้าทั้ง ๒ เงื่อนไข คือได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ และได้รับอนุญาต เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ จากคณะกรรมการวิชาชีพ


สาขาแห่งการประกอบโรคศิลปะ 

  •  การเพิ่มสาขา กำหนดโดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา เพิ่มประเภทโดยรัฐมนตรี(กรรมการแนะนำ)
  •  ปัจจุบันมี ๙ สาขา (สาขากายอุปกรณ์ ประกาศ ๑๖ มค.๕๑ มีผลใน ๙๐ วัน)
คณะกรรมการ  

  •  คณะกรรมการ หมายถึง คณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะ
  • ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน ผู้อำนวยการกองประกอบฯเป็นกรรมการและเลขาฯ รองประธานเลือกจากคณะกรรมการ 
กรรมการมาจาก

  •  ผู้แทนหน่วยงานของรัฐ ไม่มีวาระ (ครบวาระตามตำแหน่งงานหลัก)
  •  จากกรรมการวิชาชีพ สาขาละ ๒ คน (ไม่มีวาระ ครบวาระตามตำแหน่งหลัก)
  •  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง (ปลดได้) ไม่เกิน ๕ คน (วาระ ๒ ปี)  (อายุ ๕๒) ๕คน๒ปี
  •  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่จำเป็นต้องมีใบประกอบโรคศิลปะ ล้มละลายก็ได้
  •  องค์ประชุม กึ่งหนึ่ง ลงมติตามเสียงข้างมาก
 
อำนาจสำคัญของคณะกรรมการ 

  • เสนอความเห็น/ให้คำแนะนำรัฐมนตรี ในการกำหนดนโยบาย แผนงาน,มาตรการ -  ในการกำกับดูแลการประกอบโรคศิลปะ, การเพิ่มประเภทและสาขา หรือ การออกกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศต่างๆ (กรรมการวิชาชีพเสนอฯผ่านคณะกรรมการ)
  • พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการวิชาชีพ กรณีไม่รับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาต กรณีปฏิเสธการออกใบอนุญาตให้ใหม่ กรณีถูกสั่งพัก / เพิกถอนใบอนุญาต
  • เร่งรัดพนักงานเจ้าหน้าที่ส่วนราชการ หรือคณะกรรมการวิชาชีพ ให้ทำงานตามอำนาจหน้าที่
 
หน้าที่กรรมการวิชาชีพ
อำนาจสำคัญคณะกรรมการวิชาชีพ ๑๒ ประการ
  •  รับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาต, เพิกถอนใบอนุญาต, พิจารณาลงโทษผู้ประกอบโรคศิลปะ
  •  ให้คำแนะนำหลักสูตร, ส่งเสริม พัฒนา กำหนดมาตรฐาน การประกอบโรคศิลปะ
  •  ออกหนังสือรับรองความรู้ ความชำนาญเฉพาะทางในการประกอบโรคศิลปะ
  •  เสนอชื่อผู้แทนคณะกรรมการวิชาชีพ เป็นกรรมการการประกอบโรคศิลปะ

คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการการประกอบโรคศิลปะ
  •   กรรมการผู้แทนต้องมีใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ/ใบประกอบวิชาชีพ
  •   ไม่เคยถูกสั่งพัก / เพิกถอนใบอนุญาต
  •   ไม่ล้มละลาย เว้นแต่ศาลจะสั่งเพิกถอนการล้มละลายแล้ว
  •   กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่ต้องมีใบอนุญาต, แต่งตั้งและปลดออกได้โดยรัฐมนตรี

กรรมการวิชาชีพ (๑๓ ๑๗ คน) มาจาก
  •   โดยตำแหน่ง ๕ คน ซึ่งเป็นผู้แทนของหน่วยราชการ
  •   ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง ไม่เกิน ๓ คน อยู่ในวาระ ๓ ปี  (อายุ ๓๓)
  •   เลือกตั้งจากผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย มีจำนวนเท่ากับสองกลุ่มแรก โดยจะต้องเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ไม่ใช่ผู้ประกอบวิชาชีพ (ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด) อยู่ในวาระ ๓ ปี 
  •   ผู้อำนวยการกองการประกอบโรคศิลปะเป็นกรรมการและเลขานุการ
  •   เลือกประธานและรองฯ เลือกจากคณะกรรมการ ภายใน ๓๐ วันนับจากวันเลือกตั้งฯ ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด
  •   องค์ประชุมกึ่งหนึ่ง ลงมติเสียงข้างมาก
 


การเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น เพื่อคุ้มครองเจ้าหน้าที่และประชาชน ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่
 
การเรียกบุคคลมาให้ถ้อยคำ หรือส่งเอกสารวัตถุ (โดยคณะกรรมการและคณะกรรมการวิชาชีพ) ต้อง
  •   ทำเป็นหนังสือ
  •   ระบุว่าเรื่องใด คดีใด
  •   เอกสาร หรือ วัตถุในเรื่องใด คดีใด
  •   ฝ่าฝืน มีโทษ จำคุกไม่เกิน ๑ เดือน หรือปรับ ไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ๑/๑
  •   ขัดขวางการปฏิบัติงาน ปรับ ๒,๐๐๐ บาท


การควบคุมการประกอบโรคศิลปะ
 
1. หากไม่ได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต ห้ามทำการประกอบโรคศิลปะ ในสาขาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน และรับอนุญาต ยกเว้น

  •   กระทำต่อตนเอง / ช่วยเหลือผู้อื่นตามหน้าที่,กฎหมาย,หรือจรรยาบรรณ / โดยไม่รับผลตอบแทน (กฎหมายกำหนด)
  •   ฝึกหัด หรือทำการในระหว่างอบรม/ถ่ายทอดความรู้ /ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบโรคศิลปะ
  •   ได้รับมอบหมายให้ทำในหน่วยงานของรัฐ ภายใต้การควบคุมฯ (รัฐมนตรีกำหนด)
  •   ปฏิบัติงานในสถานพยาบาล ภายใต้การควบคุมฯ (รัฐมนตรีกำหนด)
  •   ผู้สอน / ผู้เชี่ยวชาญที่มีใบอนุญาตของต่างประเทศ คณะกรรมการวิชาชีพต้องอนุมัติก่อน
 


2. โรคที่คณะกรรมการวิชาชีพ เห็นว่าไม่สมควรให้ประกอบโรคศิลปะ

  •   โรคเรื้อนในระยะติดต่อ
  •   วัณโรค ระยะติดต่อรุนแรง
  •   เท้าช้าง ซึ่งแสดงอาการน่ารังเกียจ
  •   โรคพิษสุราเรื้อรัง
  •   กามโรคเรื้อรัง
  •   ผู้มีร่างกายทุพพลภาพ สามารถขึ้นทะเบียนได้
 
3. กรณีต้องโทษจำคุก จะต้องถูกจำคุกจริง และเป็นความผิดในคดีที่เสื่อมเสียต่อวิชาชีพ

4. ความรู้ในวิชาชีพ (กฎกระทรวง)

  •   เรียน/อบรมกับครู ในสถาบันที่คณะกรรมการวิชาชีพรับรอง และสอบได้
  •   เรียนจากสถาบันการศึกษา ที่คณะกรรมการวิชาชีพรับรอง
  •   ผู้ที่ส่วนราชการรับรอง/เสนอชื่อ และคณะกรรมการวิชาชีพประเมินแล้ว ตามเงื่อนไข
 
5. ข้อจำกัดและเงื่อนไขตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด ของเภสัชกรรมไทย

  •   ปรุงยาตามหลักการผลิตยาแผนโบราณ ที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยยา หรือ
  •   ตามหลัก ซึ่งผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณทั่วไป ใช้สืบกันมา
 


จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด

  •   ไม่ชักชวนให้มารักษา เพื่อประโยชน์ของตน
  •   ไม่ให้ หรือรับผลประโยชน์ กรณีรับช่วงหรือส่งต่อผู้ป่วย
  •   สุภาพ ไม่ข่มขู่ ไมลวนลาม
  •   ไม่ติดของมึนเมาจนหย่อนหน้าที่
  •   ไม่ใช้ หรือสนับสนุนการใช้ยาตำรับลับ (ไม่ได้ขึ้นทะเบียน)
  •   ไม่เปิดเผยความลับผู้ป่วย เว้นจะได้รับความยินยอม หรือทำตามกฎหมาย/หน้าที่
  •   ไม่ปฏิเสธการช่วยเหลือ
  •   ไม่ใช้หรือสนับสนุนให้ทำผิดกฎหมาย
  •   ไม่ทำการในสถานที่อโคจร / สถานที่สาธารณะ เช่นสวนสาธารณะ เว้นแต่กรณีฉุกเฉิน
ห้ามโฆษณา ด้วยตนเอง หรือใช้ จ้างวาน หรือยินยอมให้โฆษณา เว้นแต่เป็นงานวิชาการ/การศึกษา

การกล่าวหากล่าวโทษ
การกล่าวโทษ กล่าวหา และสอบสวนลงโทษ (หลักเกณฑ์ วิธีการ เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด)
 
(สิทธิของผู้ป่วย,ข้อจำกัดและเงื่อนไขการประกอบฯ ที่กฎหมาย/รัฐมนตรีกำหนด และจรรยาบรรณวิชาชีพ)
 
1. ผู้เสียหาย เป็นผู้กล่าวหา (บุคคลอื่น มีสิทธิเป็นผู้กล่าวโทษ)
2. 
ไม่เกิน ๑ ปี นับแต่วันที่เสียหาย หรือ รู้เรื่องรู้ตัวผู้กระทำผิด
3. 
ไม่เกิน ๓ ปี นับจากวันที่มีการทำความผิด
4. 
การนับวัน ให้นับก่อน ๑ วันเสมอ ไม่ใช่วันชนวัน
5. 
ทำคำกล่าวหา/กล่าวโทษ เป็นหนังสือต่อ คณะกรรมการวิชาชีพ
6. 
การถอนคำกล่าวหา/กล่าวโทษ ทำได้ แต่ การพิจารณาสอบสวนยังคงดำเนินต่อไป
7. 
อนุกรรมการวิชาชีพ ทำหน้าที่สอบสวน โดยประธานอนุฯ ออกหนังสือแจ้งข้อกล่าวหา/โทษ, เรียกตัวและพยานหลักฐาน (แจ้ง ๑๕ วัน ยื่น ๑๕ วัน) ถือเอาวันที่ไปรษณีย์ประทับตราไว้ เป็นเกณฑ์ ฝ่าฝืน ๑ เดือน ๑,๐๐๐ บาท/จำและปรับ


คำวินิจฉัย (คณะกรรมการวิชาชีพ พิจารณาจากผลที่อนุกรรมการวิชาชีพ ส่งมาให้)

  1. ถ้าไม่ผิด ให้ยกคำกล่าวหา / กล่าวโทษ
  2. ถ้าผิด ลงโทษสถานเบาที่อุทธรณ์ไม่ได้  เตือน/ภาคฑัณฑ์
โทษหนัก อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการได้ ใน ๓๐ วัน พัก เพิก (อุทธรณ์ ระเบียบกรรมการ)

  • พักใบอนุญาตไม่เกิน ๒ ปี
  • เพิกถอนใบอนุญาต เมื่อพ้น ๒ ปีขอใหม่ได้/ปฏิเสธ รอ ๑ ปี/ปฏิเสธอีก ไม่ได้ถาวร
  • ทำเป็นหนังสือ/ลงลายมือชื่อกรรมการ/แสดงเหตุผลที่ใช้วินิจฉัย อย่างน้อยต้องประกอบด้วย ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ,ข้อกฎหมาย,ข้อพิจารณาและสนับสนุน
  • กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการวิชาชีพ (ผู้อำนวยการกองการประกอบโรคศิลปะ) เป็นผู้ทำหนังสือแจ้งคำวินิจฉัย ภายใน ๗ วันนับจากวันที่มีคำวินิจฉัย พร้อมบันทึกในทะเบียนประวัติของผู้ประกอบโรคศิลปะ 


เมื่อมีคำกล่าวหา กล่าวโทษ
1. 
คณะกรรมการวิชาชีพ รับคำร้อง
2. 
คณะกรรมการวิชาชีพ ตั้งคณะอนุกรรมการวิชาชีพสอบสวน (ทุกเรื่อง ก่อนลงโทษ)
3. 
ประธานอนุกรรมการวิชาชีพ ส่งหนังสือเรียกตัว
4. 
กรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการวิชาชีพ แจ้งผลการพิจารณา
ผู้ประกอบโรคศิลปะขาดคุณสมบัติ ต้องไม่ทำผิดหน้าที่
• ไม่ได้ขึ้นทะเบียน และไม่มีใบอนุญาต
ทำการประกอบโรคศิลปะ  ( ๓ ปี ๓๐,๐๐๐บาท   จำ/ปรับ)
ทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ แต่ไม่ได้กระทำการฯ( ๒ ปี ๒๐,๐๐๐ บาท จำ/ปรับ)
  
• ได้ขึ้นทะเบียนและ ได้รับใบอนุญาต
ทำการประกอบโรคศิลปะ ระหว่างถูกสั่งพัก/เพิกถอนใบอนุญาต ( ๒ ปี ๒๐,๐๐๐ บาท จำ/ปรับ )
ประกอบโรคศิลปะ ผิดสาขา  ( ๒ ปี ๒๐,๐๐๐ บาท จำ/ปรับ )
ทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิดว่ายังทำการประกอบโรคฯได้(ถูกพัก/เพิกถอน)( ๑ ปี ๑๐,๐๐๐ บาท จำ/ปรับ )

ขอบคุณ www.medimind.net/กฏหมายแพทย์/

พรบ.วิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๕๖ คลิ๊กดาวน์โหลดข้างล่างนี้ 
http://www.thaihof.org/sites/default/files/users/user-4/original/phrb_wichaachiiphkaaraephthyaephnaithy_2556.pdf

ตัวอย่างข้อสอบ พรบ.การประกอบโรคศิลปะ
ข้อ 1.   ในการปฎิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างไร
1. เข้าไปในสถานพยาบาลในระหว่างเวลาทำการเพื่อตรวจสอบ
2. เข้าไปในสถานพยาบาลได้ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกเพื่อตรวจสอบ
3. ทำการจับกุมผุ้รับอนุญาตมาควบคุมเพื่อให้ถ้อยคำ
4. ริบบรรดาเอกสารหรือสิ่งของที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด
ข้อ 2.  การขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การออกหนังสือรับรองความรู้ความชำนาญเฉพาะทางในการประกอบโรค ศิลปะ การขอรับใบแทนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาต ให้เป็นไปตามข้อใด
1. ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
2. ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในระเบียบ
3. ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศ
4. ผิดทุกข้อ
ข้อ 3.  การช่วยเหลือคนเป็นลมข้างถนน โดยให้ยาดม และใช้ยาทาถูนวดตามร่างกาย จะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542 อย่างไรหรือไม่ ถ้าผู้ช่วยเหลือนั้นไม่ได้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ
1. มีความผิดฐานประกอบโรคศิลปะโดยมิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต
2. มีความผิดฐานประกอบโรคศิลปะในที่สาธารณะ
3. มีความผิดฐานแสดงตน ว่าพร้อมที่จะประกอบโรคศิลปะ
4. ไม่มีความผิด เพราะเป็นการช่วยเหลือตามธรรมจรรยา

ข้อ 4.  ถ้าผู้ประกอบโรคศิลปะ ในสาขาใดสาขาหนึ่ง ประกอบโรคศิลปะในสาขาอื่นที่ตนมิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตจะระวางโทษ อย่างไร
1. จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3. จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
4. จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ 5.  นาย ก.เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยได้ลงแจ้งความ ในหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับผลงานที่ได้รักษาผู้ป่วย ดังนี้ถือว่า นาย ก.
1. ไม่สามารถทำได้เพราะผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ
2. ไม่สามารถทำได้เพราะป็นข้อความที่ผิดกฎหมาย
3. ไม่สามารถทำได้เพราะเป็นการแจ้งความ
4. ไม่สามารถทำได้เพราะเป็นการเผยแพร่ข้อมูลเฉพาะบุคคล
ข้อ 6.  นายสงบ เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทเวชกรรมไทย จัดรายการวิทยุโดยแนะนำเกี่ยวกับยาสมุนไพร ต่างๆ และบอกให้ผู้ฟังที่มีปัญหาความเจ็บป่วยไปรับการรักษาที่สถานพยาบาลของตน นายสงบกระทำผิดหรือไม่ ด้วยเหตุใด
1. ผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ เพราะเป็นการโฆษณาความรู้ความชำนาญในการประกอบโรคศิลปะของตน
2. ไม่ผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ เพราะเป็นการทำงานในหน้าที่
3. ไม่ผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ เพราะเป็นการทำงานในหน้าที่
4. ผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ เพราะเป็นการจงใจชักชวนคนเจ็บไข้ให้รับการรักษาพยาบาลของตนเพื่อผลประโยชน์
ข้อ 7.  นายสงนถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุกในคดีฝ่าฝืนคำสั่งพักใช้ใบอนุญาต คดีถึงที่สุดแล้ว คณะกรรมการวิชาชีพจะดำเนินการกับ นายหน้าอย่างไร
1. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการวิชาชีพดำเนินการสืบสวน
2. ไม่ดำเนินการอย่างใดเพราะถูกจำคุกแล้ว
3. สั่งเพิกถอนใบอนุญาตโดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด
4. ผิดถูกข้อ
ข้อ 8.  ในการประชุม ถ้าประธานกรรมการวิชาชีพ ไม่สามารถปฎิบัติหน้าที่ได้ การประชุมก็ต้องเลื่อนไป คำกล่าวนี้ถูกต้องหรือไม่
1. ไม่ถูกต้อง เพราะมีรองประธานทำหน้าที่แทน
2. ถูกต้อง เพราะการประชุมต้องมีประธานทำหน้าที่ตามกฎหมาย
3. ไม่ถูกต้อง เพราะที่ประชุมสามารถเลือกกรรมการคนอื่นทำหน้าที่แทน
4. ถูกต้อง เพราะประธานไม่ได้มอบหน้าที่ให้กรรมการคนอื่นทำหน้าที่แทน
ข้อ 9.  ผู้ที่เป็นทั้งกรรมการการประกอบโรคศิลปะและกรรมการวิชาชีพสาขาทางการแพทย์แผนไทยคือ
1. ปลัดกระทรวงสาธารณสุข                                 2. ผู้อำนวยการสถาบันการแพทย์แผนไทย
3. ผู้อำนวยการกองประกอบโรคศิลปะ                4. ทุกข้อที่กล่าว
ข้อ 10.  วิชาชีพใด เมื่อจะทำการประกอบวิชาชีพ ต้องขึ้นทะเบียนและขอใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ
1. แพทย์                                2. พยาบาล
3. ทันตแพทย์                       4. เทคนิคการแพทย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น