วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การตรวจร่างกายเวชกรรมไทย





http://youtu.be/Dj_215hS1Lo   ตอนที่2/5

http://youtu.be/4OeQP4_yKzY    ตอนที่3/5

http://youtu.be/nzMUmUW2UWY    ตอนที่4/5

http://youtu.be/I9jxEx_kZyE    ตอนที่ 5/5

วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

รักษาอาการไอ


วิธีรักษาอาการไอที่ดีที่สุดคือ การรักษาที่ต้นเหตุของการไอ แต่ไม่ใช่การกดอาการไว้ เพราะการไอจะช่วยขับเอาเสมหะ และฝุ่นละอองที่ สูดหายใจเข้าไปออกจากปอด หลอดลม และหลอดคอออกมา
รักษาไอให้ถูกวิธี
เมื่อเริ่มมีอาการไอ คนส่วนใหญ่มักรีบสรรหายาแก้ไอสารพัดยี่ห้อมากิน ซึ่งนอกจากจะไม่ได้ผลแล้ว บางครั้งยังส่งผลข้างเคียงอื่นๆ ตามมา ทางที่ดีที่สุดควรแก้ด้วยวิธีที่ปลอดภัยดังนี้ค่ะ

1.
ควรปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมรอบตัว โดยพยายามอยู่ในบริเวณที่มีอากาศไม่เย็น ไม่มีฝุ่นละออง

2.
อาการไอแบบมีเสมหะ จะเป็นการดึงมูกออกจากเนื้อเยื่อ ควรนอนหนุนหมอนให้ศีรษะสูงกว่าลำตัว หรือในลักษณะกึ่งนอนกึ่งนั่ง เพื่อช่วยให้การหายใจคล่องขึ้น เมื่ออาการดีขึ้นแล้วจึงค่อยนอนราบตามปกติสมุนไพรที่ใช้ เช่นมะแว้งเป็นต้น

3.
ถ้ามีอาการไอแบบแห้ง จนไม่สามารถนอนหลับพักผ่อนได้ ควรใช้ยาสมุนไพรที่มีลักษณะข้น เพื่อเป็นการเคลือบคอ และบรรเทาอาการปวด สมุนไพรที่ใช้ เช่นรากชะเอม


ยาที่ช่วยบรรเทาอาการไอ

อาการไอเป็นอีกอาการหนึ่งที่มักเป็นควบคู่กับอาการอื่นๆ  และทรมานผู้ป่วยมาก ทั้งก่อให้เกิดอาการไอจนนอนไม่หลับ แต่การไอจะช่วยขับสิ่งแปลกปลอมที่ติดอยู่ในระบบหายใจ ซึ่งก็คือเสมหะนั่นเอง  ถ้าไอเรื้อรังไม่หายสักที ก็อาจเกิดจากหลายสาเหตุ อาการไอก็มีทั้งไอแห้งและไอที่มีเสมหะ  ยาที่ใช้แก้ไอ หรือบรรเทาอาการไอ

ในเด็กเล็กไม่ควรให้ทานยากลุ่มที่ออกฤทธิ์กดศูนย์ไอ ยาส่วนใหญ่ที่เลือกใช้จึงเป็นยาขับเสมหะและละลายเสมหะ


ยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินหายใจ
1 ยาบรรเทาอาการไอ
ลำดับ
ชื่อยา
ข้อบ่งใช้
ขนาดและวิธีใช้
1
ยาแก้ไอ
พื้นบ้านอีสาน
บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ
จิบ เมื่อมีอาการไอ ทุก 4 ชั่วโมง
2
ยาตรีผลา
บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ
รับประทานครั้งละ 1-2 กรัม ชงน้ำร้อน ประมาณ
120-200 มล. ทิ้งไว้ 3-5 นาที ดื่มในขณะยังอุ่น
3
ยาประสะมะแว้ง
บรรเทาอาการไอ มีเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ ช่วยขับเสมะหะ
ผู้ใหญ่รับประทานครั้งละ 1-1.4 กรัม
เด็กอายุ 6-12 ปี ครั้งละ 200-400 มก.
เมื่อมีอาการ ละลายน้ำมะนาวแทรกเกลือ
4
ยาอำมฤควาที
บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ
ผู้ใหญ่รับประทานครั้งละ 1 กรัม
เด็กอายุ 6-12 ปี ครั้งละ 500 มก. ละลายน้ำกระสายยาเมื่อมีอาการ

                              ข้อแตกต่างของยาแก้ไอระหว่าง ยาอำมฤควาทีกับยาประสะมะแว้ง

อาการ
ยาอำมฤควาที
ยาประสะมะแว้ง
 ตัวยาสำคัญ
รากชะเอมเทศ
มะแว้งต้น, มะแว้งเครือ
บรรเทาอาการไอ
/
/
มีเสมหะ

/
ทำให้ชุ่มคอ

/
ขับเสมหะ
/
/

*ถ้าไอแห้ง (ไม่มีเสมหะ) อาจเกิดจากการแพ้ฝุ่น แพ้ควันบุหรี่ หรือควันไอเสียรถยนต์ ระคายคอ แพ้อากาศ เป็นหวัดต้องใช้ยาแก้ไอที่มี รากชะเอมเทศ จะช่วยให้ชุ่มคอขึ้น ละลายเสมหะให้ออกมาง่ายขึ้นค่ะ

*แต่ถ้าไอเปียก (ไอมีเสมหะ) ให้หลีกเลี่ยงการใช้กลุ่มยาระงับการไอ เนื่องจากร่างกายต้องการขับเอาเสมหะหรือเสลดที่เกิดจาก การอักเสบของหลอดลมหรือเนื้อปอดออกมา (ในเสลดจะมีเชื้อโรคต้นเหตุปนเปื้อนอยู่ด้วย) ยิ่งขับออกได้มากเท่าไรก็ยิ่งดี จะช่วยให้ทางเดินหายใจโล่ง และโรคทุเลาเร็วขึ้น ในการขับเสมหะออกมา วิธีที่ปลอดภัยและราคาถูกที่สุด ก็คือ การดื่มน้ำอุ่นมากๆ (วันละ ๑๐-๑๕ แก้ว) และการเคาะปอด โดยการใช้ฝ่ามือเคาะหรือตบเบาๆ ที่บริเวณสะบัก เพื่อให้เสมหะมีการรวมตัวและระบายออกได้ดีขึ้น ขอแนะนำให้ถามหมอช่วยสอนวิธีเคาะปอดให้ จะได้ปฏิบัติได้ถูกต้องหรือจะใช้ยาแก้ไอที่มี ผลมะแว้งช่วยก็ได้เพราะจะทำให้เสลดแห้งลงและขับออกได้ดีขึ้นด้วย

***คราวหน้าจะนำสมุนไพรที่ใช้แก้อาการไอมาฝากค่ะ***

วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ข้าวเหนียวดำช่วยชะลอวัย**


คนไทยโบราณบอกว่า ข้าวเหนียว มีคุณสมบัติออกฤทธิ์ร้อน มีหลายสายพันธุ์ แต่ที่คนส่วนใหญ่นิยมมีอยู่สองสี คือ ข้าวเหนียวสีขาวและข้าวเหนียวสีดำ 
          ข้าวเหนียวกัญญา(ข้าวเหนียวดำ) เป็นพันธ์ข้าวที่มีใบดำ เมล็ดสั้นเนื้อข้าวสีดำมัน  มีรสออกมันและขมเล็กน้อย ใช้เป็นยาบำรุงโลหิต และเข้าตัวยาสำหรับหญิงตั้งครรภ์ในเดือนแรกแล้วมีอาการแพ้ท้องในคัมภีร์ปฐมจินดา  
ลักษณะพิเศษของข้าวเหนียวเมล็ดสีดำ (คนเหนือเรียกว่า"ข้าวก่ำ") คือ จะมีสารอาหาร ที่เป็นประโยชน์มากกว่าข้าวเหนียวขาว สารอาหารที่ว่า คือ โอพีซี"(OPC) มีสรรพคุณช่วยชะลอการแก่ก่อนวัย และความเสื่อมถอยของร่างกาย โดยสารโอพีซีที่พบในข้าวเหนียวดำ เป็นสารชนิดเดียวกับสารสกัดที่ได้ จากองุ่นดำองุ่นแดง เปลือกสน
สีของข้าวเหล่านี้เกิดจากรงควัตถุหรือสารให้สี ที่มีชื่อว่า แอนโธไซยานิน ซึ่งมีคุณสมบัติในการต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ช่วยในการหมุนเวียนของกระแสโลหิต ชะลอคงามเสื่อมของเซลส์ร่างกาย คือมีกลุ่มสารต้านอนุมูลอิสระสูง ต้านโรคมะเร็งได้เป็นอย่างดี ช่วยยับยั้งไม่ให้เลือดจับเป็นก้อน จึงช่วยลดอัตราการเกิดโรคหัวใจ เล้นเลือดอุดตันในสมอง
          นอกจากนี้ยังมีกลุ่มสารแกมม่า-โอไรซานอล ที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของฮอร์โมนในร่างกาย ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต สร้างภูมิต้านทานและบำบัดโรคเรื้อรังต่างๆได้อาทิ โรคความาจำเสื่อม มะเร็ง เบาหวาน หัวใจ อัมพฤกษ์ ความดันโลหิตสูง รวมถึงโรคในระบบประสาทต่างๆ ช่วยให้จิตสงบ นอนหลับ และยังมีธาตุเหล็กสูง วิตามิน เกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกาย บำรุงสขภาพเส้นผมและหนังศรีษะ ช่วยลดการหลุดร่วง แตกหัก ช่วยให้ผมดำรากผมแข็งแรง และกระตุ้นให้ผมงอกได้เร็วขึ้น

สาวไทยเมื่อครั้งอดีต นำมาช่วยบำรุงผิวพรรณให้เนียนขึ้นโดยการนำข้าวสารเหนียวแช่น้ำให้นุ่ม ผสมกับใบตำลึงอ่อน สัดส่วน 1 ต่อ 1 ตำให้ละเอียด นำมาพอกผิวหน้า ผิวกายทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำเย็นเพื่อช่วยลดริ้วรอยจุดด่างดำให้จางหายไป
******************************

คุณประเสริฐ ภูมิสิงห์ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องข้าวเป็นยารักษาโรค ชมรมการแพทย์พื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี ได้แนะนำองค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการนำข้าวมาเป็นยารักษาโรค 
ป่วยเมื่อไหร่ หยิบ 8 ตำรับยาง่าย ๆ จากข้าว ลองใช้เพื่อการบำบัดอาการกันดู 

1.น้ำซาวข้าว รักษาโรคพิษงูสวัด
ส่วนผสม น้ำซาวข้าว 1 ถ้วย ใบเสลดพังพอน 10 ใบ 
วิธีทำ  ล้างใบเสลดพังพอนให้สะอาด นำมาตำให้ละเอียด จากนั้นนำไปผสมกับน้ำซาวข้าวที่เตรียมไว้ 
เมื่อผสมยาจนเข้ากันแล้วจะมีลักษณะเป็นน้ำข้นเหนียวสีเขียว ทิ้งไว้ให้แห้งก็นำไปทาได้เรื่อย ๆ
สรรพคุณ
 ดูดพิษงูสวัด ถอนพิษจากสัตว์มีพิษ เช่น งู แมงมุม แมงป่อง ตะขาบ หรือแมงกัดต่อย นอกจากนี้ยังช่วยดูดพิษจาก
แผลอักเสบและพิษจากเห็ดได้อีกด้วย

2.ข้าวจี่ รักษาฝีหนอง
ส่วนผสม
 ข้าวสุก 1 ปั้น น้ำซาวข้าว 1 ถ้วย ใบลำโพง 10 ใบ 
วิธีทำ ล้างใบลำโพงให้สะอาด นำมาตำให้ละเอียด จากนั้นนำข้าวสุกไปจี่ไฟให้ดำ นำมาตำพร้อมกับใส่ 
ใบลำโพงที่เตรียมไว้ ผสมกับน้ำซาวข้าว เมื่อผสมยาจนเข้ากันแล้ว ทิ้งไว้ให้แห้งก็นำไปใช้ได้เลย
สรรพคุณ
 ใช้พอกบริเวณที่เป็นฝี ช่วยดูดพิษฝีหนอง นอกจากนี้ยังช่วยดูดพิษจากอีสุกอีใสได้อีกด้วย

3.น้ำซาวข้าวผสมขิงรักษาผดผื่นแดง และอาการคัน
ส่วนผสม  ขิงแก่สด 2 ถ้วย น้ำซาวข้าว 1 ถ้วย
วิธีทำ ล้างขิงให้สะอาด นำมาตำให้ละเอียดโดยไม่ต้องขูดเปลือกทิ้ง จากนั้นนำไปผสมกับน้ำซาวข้าวที่
เตรียมไว้ เมื่อผสมยาจนเข้ากันแล้ว แล้วจะมีลักษณะเป็นน้ำข้นสีเหลือง ทิ้งไว้สักครู่ก็นำไปทาได้เรื่อย ๆ
สรรพคุณ
 ใช้ทาบริเวณที่เป็นผด ผื่นแดง ช่วยบรรเทาอาการคันได้ดี

 4.น้ำข้าวตังก้นหม้อ แก้ปัญหาอาหารไม่ย่อย
ส่วนผสม
 ข้าวตังก้นหม้อ 1 ถ้วย น้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ หุงข้าวแบบเช็ดน้ำนำข้าวตรงก้นหม้อที่สุกจนเกือบไหม้ติดก้นหม้อไปต้มให้เดือดแล้วลดไฟลง 
เคี่ยวด้วยไฟอ่อนประมาณ 3 นาที เติมน้ำมะนาวลงไป ได้เป็นน้ำข้าวตังเทน้ำข้าวตังที่ได้ใส่หม้อหรือ
เหยือกน้ำรินดื่มได้ตลอดวัน
สรรพคุณ
 ใช้ดื่มแก้หิวกระหาย บำรุงกำลังและช่วยกระตุ้นน้ำย่อย แก้ปัญหาอาหารไม่ย่อยได้ดี

 5.น้ำนมข้าว ช่วยฟื้นไข้ แก้อาการอ่อนเพลีย
ส่วนผสม
 รวงข้าวอ่อน 1 กำมือ น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ
 วิธีทำ ล้างรวงข้าวอ่อนให้สะอาด นำมาทุบให้บุบแล้วตัดเป็นท่อนสั้น ๆ ประมาณ 1 นิ้ว ต้มรวงข้าวกับ
น้ำให้เดือดแล้วเคี่ยวด้วยไฟอ่อน ๆ ประมาณ 10 นาที ค่อย ๆ เติมน้ำผึ้งลงไป ต้มต่ออีกสักครู่ แล้วเท
น้ำนมข้าวใส่เหยือกน้ำ รินดื่มได้ตลอดวัน
สรรพคุณ
 ดื่มแก้อ่อนเพลีย เหมาะสำหรับผู้ที่เพิ่งฟื้นไข้ ดื่มแล้วจะหายเร็ว หรือนำน้ำนมข้าวผสมกับนมวัว เป็นยา
บำรุงกำลังได้เช่นกัน

6.น้ำรากข้าวเหนียว แก้ไอ ละลายเสมหะ
ส่วนผสม
 รากข้าวเหนียวแห้ง 1 ถ้วย น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ ล้างรากข้าวเหนียวให้สะอาด นำไปตากแดดให้แห้งตัดเป็นท่อนสั้น ๆ ประมาณ 1 นิ้ว ต้มราก
ข้าวเหนียวแห้งกับน้ำให้เดือด แล้วเคี่ยวด้วยไฟอ่อน ๆ ประมาณ 5 นาที ค่อย ๆ เติมน้ำผึ้งลงไป ต้มต่อ
อีกสักครู่ จะได้น้ำรากข้าวเหนียวที่มีรสชุ่มคอ จากนั้นเทน้ำรากข้าวเหนียวใส่เหยือกน้ำรินดื่มเวลาที่มีเสมหะ
 สรรพคุณ
 ดื่มแก้ไอ ละลายเสมหะ บรรเทาอาการเจ็บคอและช่วยกระตุ้นน้ำลาย นอกจากนี้ยังช่วยแก้เหงื่อออกมากได้อีกด้วย

7.น้ำข้าวกล้องกับใบฝรั่งรวมพลังแก้ท้องเสีย ท้องร่วง
ส่วนผสม
 ข้าวกล้อง 1 ถ้วย ใบฝรั่ง 7 ใบ เกลือป่น 1 ช้อนชา น้ำ 1 ลิตร
วิธีทำ ล้างรากข้าวเหนียวให้สะอาด นำมาต้มรวมกับข้าวกล้องพอน้ำเดือดให้ลดไฟลง เคี่ยวไปเรื่อย ๆ 
จนน้ำเหลือประมาณครึ่งหนึ่ง เติมเกลือลงไป กรองเอากากออก เก็บไว้แบ่งดื่ม เช้า กลางวัน เย็น จนกว่า
จะหายท้องเสีย
สรรพคุณ
 ดื่มแก้ท้องเสีย ท้องร่วง นอกจากนี้ยังช่วยกำจัดสารพิษที่ตกค้างอยู่ในลำไส้ได้อีกด้วย

8.ข้าวดอกมะขาม ขับเลือดลม แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ส่วนผสม
 ข้าวดอกมะขาม 1 ถ้วย น้ำ 1 ลิตร
วิธีทำ นำข้าวดอกมะขามมาทั้งรวง (มีสีเหลืองนวลคล้ายดอกมะขามและมีลายในเมล็ดข้าว) ทุบให้บุบ
แล้วตัดเป็นท่อนสั้น ๆ ประมาณ 1 นิ้ว ต้มข้าวดอกมะขามกับน้ำให้เดือดเคี่ยวด้วยไฟอ่อน ๆ ประมาณ 
20 นาที กรองเอากากออกจากนั้น เทน้ำข้าวดอกมะขามใส่แก้ว ดื่มให้หมดในครั้งเดียว
สรรพคุณ
 ช่วยบำรุงเลือด ขับเลือดลมในผู้หญิงและแก้อาการประจำเดือนมาไม่ปกติ
 หมายเหตุ : 1 ถ้วย = 240 ซีซี, 1 ช้อนโต๊ะ = 15 ซีซี
หันมากินข้าวเหนียวสีดำกันเถอะค่ะ พันธุ์อะไรก็ได้ ถ้าอยากแก่ช้า อายุยืน สุขภาพดี
ขอบคุณข้อมูล ข้าว: ยาวิเศษ เพื่อคนอุษาคเนย์
                           รักบ้านเกิด http://www.rakbankerd.com/
ภาพจากอินเตอร์เน็ต

วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

อาหารการกินที่ทำให้เกิดโรค


อาหารการกินที่ทำให้เกิดโรคในพระคัมภีร์แพทย์แผนไทย
ในทัศนะของแพทย์แผนไทยกล่าวว่า ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วย ธาตุทั้ง ๔ การเจ็บป่วยเกิดเพราะได้รับอิทธิพลจากธาตุกำเนิด  ฤดูกาลหรือภูมิอากาศ  อายุ ช่วงเวลาที่เปลี่ยนแปลง อาหารที่บริโภค  ภูมิประเทศ  พฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม   ปัจจัยเหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดสภาวะสภาพของบุคคล  โดยเฉพาะเรื่องอาหาร    ในทัศนะของแพทย์แผนไทยยังเห็นว่า ร่างกายของมนุษย์เป็นแหล่งก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ   หากธาตุทั้ง  4  อยู่ในสภาวะสมดุลร่างกายก็จะเป็นปกติและปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ  เหตุที่ทำให้ร่างกายสมดุลหรือเสียสมดุลที่สำคัญก็คือ  อาหาร  ในที่นี้จะกล่าวถึง 2 พระคัมภีร์ก่อนคือ           1.  พระคัมภีร์โรคนิทาน
                         2.  พระคัมภีร์ธาตุวิภังค์
            ครูแพทย์แผนไทยแต่โบราณตระหนักรู้ถึงคุณและโทษของอาหารที่ทำให้เกิดโรคได้เป็นอย่างดี  และการรักษาโรค ในบางครั้งต้องมีการควบคุมเรื่องอาหาร  โดยเฉพาะอาหารที่แสลงต่อโรค  หรืออาหารที่ไม่ถูกกับธาตุ  และได้มีการจดบันทึกไว้เป็นความรู้ในพระคัมภีร์แพทย์  เพื่อให้ผู้ที่ศึกษาวิชาแพทย์แผนไทยรุ่นต่อมาได้ใช้เป็นหลักในการพิจารณาโรค  พิจารณาไข้ต่อไป

พระคัมภีร์โรคนิทาน
          อาหารใหม่    “เมื่อพิการแตกไซร้   ถ้าบริโภคอาหารเข้าไปอิ่มแล้วเมื่อใด    ก็ทำให้ร้อนท้องนัก   บางทีให้สะอึก   บางทีให้ขัดในอก   แล้วให้จุกเสียดตามชายโครง  ให้ผะอืดให้ผะอม   คนสมมติว่า  ไฟธาตุหย่อน  จะเช่นอย่างสมมุติว่านั้นหาไม่  อาการอย่างนี้ย่อมเป็นโทษเพราะเสพอาหารที่ไม่เคยบริโภคนั้น  ประหนึ่งคือ  อาหารดิบประการ หนึ่ง   ลมกุจฉิสยาวาตาพัดไม่ตลอดก็ให้เป็นต่าง ๆ  บางทีให้ลง   บางทีให้เป็นพรรดึก  แดกขึ้นแดกลงกินอาหารไม่ได้
         อาหารเก่า     “ เมื่อพิการแตก  คือ  ทรางขโมยกินลำไส้  ถ้าพ้นกำหนดทรางแล้ว คือ  ริศดวงคูถ

พระคัมภีร์ธาตุวิภังค์   
         
 อาหารใหม่     ถ้าพิการนั้น  คือ  กินเข้าๆไป  อิ่มแล้วเมื่อใดมักให้ร้อนท้องนัก  บางทีให้ลงดุจกินยารุ   บางทีให้สะอึก  ขัดหัวอกแล้วให้จุกเสียดตามชายโครง  ผะอืดผะอม  สมมุติว่าไฟธาตุนั้นหย่อน   โรคทั้งนี้ย่อมให้โทษเพราะอาหารมิควรกินนั้นอย่าง 1  กินอาหารดิบอย่าง 1  ลมในท้องพัดไม่ตลอด  มักแปรไปเป็นต่างๆ  บางทีให้ลงท้อง   บางทีให้ผูกเป็นพรรดึก   ให้แดกขึ้นแดกลง   กินอาหารมิได้  ให้ลงแดง  ให้ราก  มักเป็นป่วง 7 จำพวก  ”
          
อาหารเก่า     “ ถ้าพิการ คือ  ทรางขโมยกินลำไส้  ถ้าพ้นกำหนดทรางแล้ว  คือ เป็นริศสิดวงนั้นเองแล  ”
 
จากข้อความตามพระคัมภีร์ขออธิบายขยายความ  ดังนี้
  
อาหารใหม่
          อาหารใหม่เป็นอาหารที่รับประทานเข้าไปผ่านระบบการย่อยจากปากเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ส่วนต้น(กระเพาะอาหาร) 
ไปจนถึงลำไส้น้อยส่วนปลาย   อาการกำเริบหย่อนหรือพิการของอาหารใหม่  ท่านจำเพาะเฉพาะอาการที่เกิดจากอาหารเป็นต้นเหตุ   คือ  อาหารที่ไม่ควรกิน  เช่น    อาหารที่ไม่ถูกกับธาตุหรือโรค   อาหารบูดเน่าเสีย   อาหารแข็งย่อยยาก   อาหารมันมาก  อาหารที่ไม่เคยกิน  อาหารสกปรกมีเชื้อโรค   อาหารที่มีพิษหรือสารพิษ  เป็นต้น  อาหารดิบ หรือสุก ๆดิบๆ  ทำให้ไฟธาตุนั้นหย่อนหรือพิการไป   ถ้ามีพยาธิด้วยก็จะเป็นเหตุให้ฟักหรือกระจายตัวในช่วงอาหารเก่า   ทำให้กระทบไปถึงพิกัดธาตุสมุฏฐานอื่นๆ เช่น  ลำไส้น้อย  ลำไส้ใหญ่  ไฟธาตุที่ย่อยอาหารพลอยกำเริบ  หย่อน  หรือพิการไปด้วย  ดังนั้น  อาการเจ็บป่วยจึงมีบางอาการคล้ายกับอาการของลำไส้น้อย  ลำไส้ใหญ่และไฟธาตุที่ช่วยย่อยอาหารกำเริบ หย่อน หรือพิการ
ถ้าพิจารณาจากอาการที่ปรากฏในพระคัมภีร์  จะเห็นว่า   “ กินข้าวเข้าไปอิ่มแล้วเมื่อใดมักให้ร้อนท้องนัก  ” ซึ่งเป็นอาการของโรคกระเพาะอาหาร   ดังนั้น  การที่อาหารใหม่จะกำเริบ หย่อนหรือพิการได้นั้น   ส่วนหนึ่งก็คือ  สุขภาพของร่างกายผู้นั้นที่ไม่แข็งแรงสมบูรณ์อาจมีอาการของโรคกระเพาะอาหารหรือลำไส้ในช่วงแรกๆ อยู่ก่อนแล้วก็ได้
 อาหารใหม่หย่อนหรือพิการ
          เป็นอาหารหรือยาที่มีสรรพคุณไปขัดขวางหรือยับยั้งการทำหน้าที่ของพิกัดธาตุสมุฏฐานอื่น  เช่น
  -  อาหารหรือยาที่มีรสเย็น  จะไปลดความสามารถในการย่อยอาหารของน้ำย่อย
  -  อาหารรสฝาด  แสลงกับคนที่ไฟธาตุอ่อนหรือเป็นพรรดึก   กระตุ้นให้ลำไส้หดรัดตัว  ทำให้ท้องผูก  ถ่ายยาก   
  -  อาหารหรือยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งหรือกระตุ้นประสาท    การทำงานของกระเพาะอาหารหรือลำไส้
  -  กินอาหารมากเกินไปจนเกินความสามารถในการย่อยของน้ำย่อยและกระเพาะอาหารลำไส้
  -  อาหารที่ย่อยยาก    เคี้ยวอาหารไม่ละเอียด   อาหารที่ไม่เคยกิน   ทำให้อาหารไม่ย่อยหรือย่อยไม่หมด
  -  อาหารมันมาก    เกินกว่าการช่วยย่อยของน้ำดี   ทำให้อาหารไม่ย่อยหรือย่อยไม่หมด
      อาหารถ้าถูกย่อยด้วยน้ำย่อยไม่หมด  จะเกิดการหมักหมม  ถูกย่อยด้วยแบคทีเรีย  เน่าเสีย  เกิดลมในกระเพาะอาหารมาก  เกิดแก๊สพิษ  มักให้ร้อนท้องนัก  บางทีลงดุจกินยารุ  บางทีให้สะอึก  ขัดในหัวอก  ( หายใจขัด )   แล้วให้จุกเสียดตามชายโครง  ผะอืดผะอม   สมมุติว่าไฟธาตุนั้นหย่อน  ( ลักษณะคล้ายโรคกระเพาะอาหารเป็นแผล )
อาหารใหม่กำเริบหรือพิการ
          เป็นอาหารหรือยาที่ทำให้การทำหน้าที่ของพิกัดธาตุสมุฏฐานอื่นทำงานเกินกว่าปกติหรือกำเริบ  เช่น
 อาหารที่ไม่ถูกกับธาตุหรือโรค  เช่น
  -  อาหารรสร้อน  แสลงกับคนที่มีธาตุร้อน  หรือมีไข้  เป็นต้น 
  -  อาหารบูดเน่าเสีย  ของหมักดอง  ทำให้ท้องเสีย  ท้องเดิน
  -  อาหารที่มีพิษหรือสารพิษ  ทำให้ลงท้อง  อาเจียน  และอาการอื่นๆ ตามพิษของสารที่ได้รับ
  -  อาหารสกปรก  อาหารดิบ  หรืออาหารสุกๆดิบ ๆ  มีพยาธิ  ทำให้ท้องเสีย  ท้องเดิน  หรือป่วยตามเชื้อโรคที่ได้รับ  เช่น  เป็นลมป่วง   ( ท้องเดินอย่างรุนแรง  รวมไปถึงอหิวาตกโรค   ดูในเรื่องป่วง )  หรือเมื่อตกไปเป็นอาหารเก่า  เกิดพยาธิต่าง ๆ เป็นต้น
อาหารเก่า
        อาหารเก่าเป็นกากอาหารส่วนที่ได้ย่อยและดูดซึมอาหารไปแล้ว  อยู่บริเวณถัดจากลำไส้น้อยลงไปจนถึงซ่วงทวาร  เพื่อรอการขับถ่าย   ในช่วงนี้ไม่มีน้ำย่อย   การย่อยเกิดจากแบคทีเรีย  ซึ่งทำให้เกิดลมและสารที่มีพิษมาก    ถ้าอาหารเก่าถูกเก็บไว้นานๆ ร่างกายจะดูดเอาน้ำ  ลม  และสารพิษเข้าสู่ร่างกาย  อุจจาระแข็งตัว  ถ่ายยาก  ทำให้เกิดริดสีดวงทวาร
อาหารเก่ากำเริบหรือพิการ
        โบราณจารย์ท่านจัดเอาอาหารที่มีพยาธิเป็นอาหารพิการ  พยาธิที่ปะปนมากับอาหารมีอยู่มากมายหลายชนิด   ส่วนหนึ่งจะฟักออกเป็นตัวในช่วงอาหารเก่า   ทำให้เกิดความเจ็บป่วยขึ้น  ให้มีอุจจาระเป็นฟองเน่าเหม็น  พุงโร  ก้นปอด  ผอมเหลือง
       -  ถ้าสารพิษและสิ่งสกปรกถูกส่งออกไปตามผิวหนัง   จะทำให้เกิดฝ้า   ผิวหมองคล้ำ  ไม่สดใส
       -  ถ้าอาหารเก่าตกค้างเป็นคราบอยู่ตามผนังลำไส้  นานเข้าจะหนาและแข็ง  เวลาลำไส้หดตัวทำให้ถูครูดกับคราบอาหาร  เกิดริดสีดวงลำไส้ได้  เกิดแผล  ติดเชื้อ  อักเสบเป็นฝีหนอง   ส่วนมากมักเกิดในผู้สูงอายุ  ที่มีอาการคูถเสมหะ    ลมในลำไส้   ลมในท้อง   หย่อนและพิการด้วย   จัดอยู่ในอชินโรค  อชินธาตุ   ส่วนใหญ่เกิดจากการกินอาหารที่ไม่ถูกกับโรคหรือธาตุ   ทำให้ธาตุไม่ย่อย   อาหารที่มีเส้นใยน้อยก็เป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้ท้องผูก  
 ( ดูเพิ่มเติม  เรื่องอุจจาระธาตุพิการ  ในพระคัมภีร์ธาตุบรรจบ )

การดูแลรักษา
1.  งดอาหารที่แสลงกับโรคหรือธาตุ  อาหารที่ไม่เคยกิน  อาหารเน่าเสีย  อาหารเก็บไว้นาน  อาหารสุกๆ ดิบๆ อาหารแข็ง  ย่อยยาก  เป็นต้น
2.  ออกกำลังกายสม่ำเสมอ  และพักผ่อนให้เพียงพอ
3.  รับประทานอาหารที่มีเส้นใย  อาหารที่ช่วยการขับถ่ายให้มาก ๆ


การใช้ยาสมุนไพรรักษา
1.  ถ้ากินอิ่มแล้วปวดท้อง   ให้ท้องร้อน  ให้จุกเสียด  ผะอืดผะอม  ให้ยาแก้โรคกระเพาะอาหาร  ลำไส้
2.  ถ้าท้องเสีย  ท้องเดิน  ลงท้อง  เป็นลมป่วง  ให้ยาแก้ท้องเสีย  แก้ลมป่วง
3.  ถ้ากินอาหารรสมันมาก  หรือนมแล้วถ่ายอย่างแรง   ให้ยาแก้ท้องเสีย  ยาบำรุงธาตุ  บำรุงน้ำดี
4.  ถ้าเป็นพรรดึก  ให้ยาระบาย  ยาถ่าย
5. ถ้าลงท้อง  ถ่ายและอาเจียน  เนื่องจากกินของผิดสำแดง  อาหารเป็นพิษ  สารพิษ  ให้ยาสมานลำไส้  ยาแก้พิษ
6.  ถ้าท้องผูก  เป็นพรรดึก  ให้ยาระบาย  ยาถ่าย
7.  ถ้าเป็นริดสีดวงทวาร  ให้ยาแก้ริดสีดวงทวาร
8.  ถ้ามีอาการสมองมึนงง  ให้ยาถ่ายขับพิษและยาหอมบำรุงโลหิต หัวใจ และสมอง
9.  ถ้าผิวพรรณหม่นหมอง  มีฝ้าเลือด  ให้ยาฟอกและบำรุงโลหิต 
ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.prueksaveda.com/ โดย ยศ พฤกษเวช

พรบ.การประกอบโรคศิลปะ

พรบ.วิชาชีพการแพทย์แผนไทยพ.ศ.๒๕๕๖ ดาวน์โหลดข้างล่าง


พรบ.การประกอบโรคศิลปะ ๒๕๔๒

เหตุผล
   
๒๔๖๖ คุ้มครองมหาชนให้ปราศจากอันตรายอันเกิดแต่การประกอบแห่งผู้ไร้ความรู้
   ๒. 
๒๕๔๒ คุ้มครองผลประโยชน์ประชาชนมิให้ได้รับความเสียหาย ไม่ให้มีการแสวงหาผลประโยชน์ หรือใช้วิชาชีพโดยมิชอบ
   ๓. 
มีลักษณะของการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ โดยอาศัยกฎหมายเฉพาะด้าน

นิยาม
๑. 
การประกอบโรคศิลปะ หมายความถึงการกระทำเพื่อให้เกิดผลต่อสุขภาพ (ต้องครบทุกองค์ประกอบ)         

  - 
เป็นการประกอบวิชาชีพ
  - 
เป็นการกระทำต่อมนุษย์ (ไม่รวมสิ่งมีชีวิตอื่น) หรือ
  - 
มุ่งหมายที่จะกระทำต่อมนุษย์ (เช่นการตรวจร่างกาย,การพิมพ์นามบัตร) เกี่ยวกับ
  - 
การตรวจโรค,วินิจฉัยโรค,บำบัดโรค,ป้องกันโรค, การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพ,การผดุงครรภ์

๒. 
การแพทย์แผนไทย (อย่างใดอย่างหนึ่ง)       

  •  ประกอบโรคศิลปะตามความรู้หรือตำราแบบไทยที่ถ่ายทอดและพัฒนาสืบต่อกันมา หรือ
  •   ตามการศึกษาจากสถานศึกษาที่คณะกรรมการรับรอง
  •  ประเมิน
๓. เภสัชกรรมไทย หมายถึงการกระทำด้วยกรรมวิธีการแพทย์แผนไทย ในเรื่อง         

  •  การเตรียมยา, ผลิตยา, ประดิษฐ์ยา, ปรุงยา, จ่ายยาตามใบสั่งยา, การจัดจำหน่ายยา
  •  การเลือกสรรยา, การควบคุมและการประกันคุณภาพยา (เป็นกิจกรรมที่สำคัญ)

๔. 
การผดุงครรภ์ไทย ครอบคลุมกระบวนการเกี่ยวกับการตั้งครรภ์และการคลอด และการส่งเสริมสุขภาพ มารดาและทารกในระยะหลังคลอด

๕. 
ผู้ประกอบโรคศิลปะ ต้องเข้าทั้ง ๒ เงื่อนไข คือได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ และได้รับอนุญาต เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ จากคณะกรรมการวิชาชีพ


สาขาแห่งการประกอบโรคศิลปะ 

  •  การเพิ่มสาขา กำหนดโดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา เพิ่มประเภทโดยรัฐมนตรี(กรรมการแนะนำ)
  •  ปัจจุบันมี ๙ สาขา (สาขากายอุปกรณ์ ประกาศ ๑๖ มค.๕๑ มีผลใน ๙๐ วัน)
คณะกรรมการ  

  •  คณะกรรมการ หมายถึง คณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะ
  • ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน ผู้อำนวยการกองประกอบฯเป็นกรรมการและเลขาฯ รองประธานเลือกจากคณะกรรมการ 
กรรมการมาจาก

  •  ผู้แทนหน่วยงานของรัฐ ไม่มีวาระ (ครบวาระตามตำแหน่งงานหลัก)
  •  จากกรรมการวิชาชีพ สาขาละ ๒ คน (ไม่มีวาระ ครบวาระตามตำแหน่งหลัก)
  •  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง (ปลดได้) ไม่เกิน ๕ คน (วาระ ๒ ปี)  (อายุ ๕๒) ๕คน๒ปี
  •  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่จำเป็นต้องมีใบประกอบโรคศิลปะ ล้มละลายก็ได้
  •  องค์ประชุม กึ่งหนึ่ง ลงมติตามเสียงข้างมาก
 
อำนาจสำคัญของคณะกรรมการ 

  • เสนอความเห็น/ให้คำแนะนำรัฐมนตรี ในการกำหนดนโยบาย แผนงาน,มาตรการ -  ในการกำกับดูแลการประกอบโรคศิลปะ, การเพิ่มประเภทและสาขา หรือ การออกกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศต่างๆ (กรรมการวิชาชีพเสนอฯผ่านคณะกรรมการ)
  • พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการวิชาชีพ กรณีไม่รับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาต กรณีปฏิเสธการออกใบอนุญาตให้ใหม่ กรณีถูกสั่งพัก / เพิกถอนใบอนุญาต
  • เร่งรัดพนักงานเจ้าหน้าที่ส่วนราชการ หรือคณะกรรมการวิชาชีพ ให้ทำงานตามอำนาจหน้าที่
 
หน้าที่กรรมการวิชาชีพ
อำนาจสำคัญคณะกรรมการวิชาชีพ ๑๒ ประการ
  •  รับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาต, เพิกถอนใบอนุญาต, พิจารณาลงโทษผู้ประกอบโรคศิลปะ
  •  ให้คำแนะนำหลักสูตร, ส่งเสริม พัฒนา กำหนดมาตรฐาน การประกอบโรคศิลปะ
  •  ออกหนังสือรับรองความรู้ ความชำนาญเฉพาะทางในการประกอบโรคศิลปะ
  •  เสนอชื่อผู้แทนคณะกรรมการวิชาชีพ เป็นกรรมการการประกอบโรคศิลปะ

คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการการประกอบโรคศิลปะ
  •   กรรมการผู้แทนต้องมีใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ/ใบประกอบวิชาชีพ
  •   ไม่เคยถูกสั่งพัก / เพิกถอนใบอนุญาต
  •   ไม่ล้มละลาย เว้นแต่ศาลจะสั่งเพิกถอนการล้มละลายแล้ว
  •   กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่ต้องมีใบอนุญาต, แต่งตั้งและปลดออกได้โดยรัฐมนตรี

กรรมการวิชาชีพ (๑๓ ๑๗ คน) มาจาก
  •   โดยตำแหน่ง ๕ คน ซึ่งเป็นผู้แทนของหน่วยราชการ
  •   ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง ไม่เกิน ๓ คน อยู่ในวาระ ๓ ปี  (อายุ ๓๓)
  •   เลือกตั้งจากผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย มีจำนวนเท่ากับสองกลุ่มแรก โดยจะต้องเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ไม่ใช่ผู้ประกอบวิชาชีพ (ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด) อยู่ในวาระ ๓ ปี 
  •   ผู้อำนวยการกองการประกอบโรคศิลปะเป็นกรรมการและเลขานุการ
  •   เลือกประธานและรองฯ เลือกจากคณะกรรมการ ภายใน ๓๐ วันนับจากวันเลือกตั้งฯ ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด
  •   องค์ประชุมกึ่งหนึ่ง ลงมติเสียงข้างมาก
 


การเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น เพื่อคุ้มครองเจ้าหน้าที่และประชาชน ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่
 
การเรียกบุคคลมาให้ถ้อยคำ หรือส่งเอกสารวัตถุ (โดยคณะกรรมการและคณะกรรมการวิชาชีพ) ต้อง
  •   ทำเป็นหนังสือ
  •   ระบุว่าเรื่องใด คดีใด
  •   เอกสาร หรือ วัตถุในเรื่องใด คดีใด
  •   ฝ่าฝืน มีโทษ จำคุกไม่เกิน ๑ เดือน หรือปรับ ไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ๑/๑
  •   ขัดขวางการปฏิบัติงาน ปรับ ๒,๐๐๐ บาท


การควบคุมการประกอบโรคศิลปะ
 
1. หากไม่ได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต ห้ามทำการประกอบโรคศิลปะ ในสาขาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน และรับอนุญาต ยกเว้น

  •   กระทำต่อตนเอง / ช่วยเหลือผู้อื่นตามหน้าที่,กฎหมาย,หรือจรรยาบรรณ / โดยไม่รับผลตอบแทน (กฎหมายกำหนด)
  •   ฝึกหัด หรือทำการในระหว่างอบรม/ถ่ายทอดความรู้ /ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบโรคศิลปะ
  •   ได้รับมอบหมายให้ทำในหน่วยงานของรัฐ ภายใต้การควบคุมฯ (รัฐมนตรีกำหนด)
  •   ปฏิบัติงานในสถานพยาบาล ภายใต้การควบคุมฯ (รัฐมนตรีกำหนด)
  •   ผู้สอน / ผู้เชี่ยวชาญที่มีใบอนุญาตของต่างประเทศ คณะกรรมการวิชาชีพต้องอนุมัติก่อน
 


2. โรคที่คณะกรรมการวิชาชีพ เห็นว่าไม่สมควรให้ประกอบโรคศิลปะ

  •   โรคเรื้อนในระยะติดต่อ
  •   วัณโรค ระยะติดต่อรุนแรง
  •   เท้าช้าง ซึ่งแสดงอาการน่ารังเกียจ
  •   โรคพิษสุราเรื้อรัง
  •   กามโรคเรื้อรัง
  •   ผู้มีร่างกายทุพพลภาพ สามารถขึ้นทะเบียนได้
 
3. กรณีต้องโทษจำคุก จะต้องถูกจำคุกจริง และเป็นความผิดในคดีที่เสื่อมเสียต่อวิชาชีพ

4. ความรู้ในวิชาชีพ (กฎกระทรวง)

  •   เรียน/อบรมกับครู ในสถาบันที่คณะกรรมการวิชาชีพรับรอง และสอบได้
  •   เรียนจากสถาบันการศึกษา ที่คณะกรรมการวิชาชีพรับรอง
  •   ผู้ที่ส่วนราชการรับรอง/เสนอชื่อ และคณะกรรมการวิชาชีพประเมินแล้ว ตามเงื่อนไข
 
5. ข้อจำกัดและเงื่อนไขตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด ของเภสัชกรรมไทย

  •   ปรุงยาตามหลักการผลิตยาแผนโบราณ ที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยยา หรือ
  •   ตามหลัก ซึ่งผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณทั่วไป ใช้สืบกันมา
 


จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด

  •   ไม่ชักชวนให้มารักษา เพื่อประโยชน์ของตน
  •   ไม่ให้ หรือรับผลประโยชน์ กรณีรับช่วงหรือส่งต่อผู้ป่วย
  •   สุภาพ ไม่ข่มขู่ ไมลวนลาม
  •   ไม่ติดของมึนเมาจนหย่อนหน้าที่
  •   ไม่ใช้ หรือสนับสนุนการใช้ยาตำรับลับ (ไม่ได้ขึ้นทะเบียน)
  •   ไม่เปิดเผยความลับผู้ป่วย เว้นจะได้รับความยินยอม หรือทำตามกฎหมาย/หน้าที่
  •   ไม่ปฏิเสธการช่วยเหลือ
  •   ไม่ใช้หรือสนับสนุนให้ทำผิดกฎหมาย
  •   ไม่ทำการในสถานที่อโคจร / สถานที่สาธารณะ เช่นสวนสาธารณะ เว้นแต่กรณีฉุกเฉิน
ห้ามโฆษณา ด้วยตนเอง หรือใช้ จ้างวาน หรือยินยอมให้โฆษณา เว้นแต่เป็นงานวิชาการ/การศึกษา

การกล่าวหากล่าวโทษ
การกล่าวโทษ กล่าวหา และสอบสวนลงโทษ (หลักเกณฑ์ วิธีการ เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด)
 
(สิทธิของผู้ป่วย,ข้อจำกัดและเงื่อนไขการประกอบฯ ที่กฎหมาย/รัฐมนตรีกำหนด และจรรยาบรรณวิชาชีพ)
 
1. ผู้เสียหาย เป็นผู้กล่าวหา (บุคคลอื่น มีสิทธิเป็นผู้กล่าวโทษ)
2. 
ไม่เกิน ๑ ปี นับแต่วันที่เสียหาย หรือ รู้เรื่องรู้ตัวผู้กระทำผิด
3. 
ไม่เกิน ๓ ปี นับจากวันที่มีการทำความผิด
4. 
การนับวัน ให้นับก่อน ๑ วันเสมอ ไม่ใช่วันชนวัน
5. 
ทำคำกล่าวหา/กล่าวโทษ เป็นหนังสือต่อ คณะกรรมการวิชาชีพ
6. 
การถอนคำกล่าวหา/กล่าวโทษ ทำได้ แต่ การพิจารณาสอบสวนยังคงดำเนินต่อไป
7. 
อนุกรรมการวิชาชีพ ทำหน้าที่สอบสวน โดยประธานอนุฯ ออกหนังสือแจ้งข้อกล่าวหา/โทษ, เรียกตัวและพยานหลักฐาน (แจ้ง ๑๕ วัน ยื่น ๑๕ วัน) ถือเอาวันที่ไปรษณีย์ประทับตราไว้ เป็นเกณฑ์ ฝ่าฝืน ๑ เดือน ๑,๐๐๐ บาท/จำและปรับ


คำวินิจฉัย (คณะกรรมการวิชาชีพ พิจารณาจากผลที่อนุกรรมการวิชาชีพ ส่งมาให้)

  1. ถ้าไม่ผิด ให้ยกคำกล่าวหา / กล่าวโทษ
  2. ถ้าผิด ลงโทษสถานเบาที่อุทธรณ์ไม่ได้  เตือน/ภาคฑัณฑ์
โทษหนัก อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการได้ ใน ๓๐ วัน พัก เพิก (อุทธรณ์ ระเบียบกรรมการ)

  • พักใบอนุญาตไม่เกิน ๒ ปี
  • เพิกถอนใบอนุญาต เมื่อพ้น ๒ ปีขอใหม่ได้/ปฏิเสธ รอ ๑ ปี/ปฏิเสธอีก ไม่ได้ถาวร
  • ทำเป็นหนังสือ/ลงลายมือชื่อกรรมการ/แสดงเหตุผลที่ใช้วินิจฉัย อย่างน้อยต้องประกอบด้วย ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ,ข้อกฎหมาย,ข้อพิจารณาและสนับสนุน
  • กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการวิชาชีพ (ผู้อำนวยการกองการประกอบโรคศิลปะ) เป็นผู้ทำหนังสือแจ้งคำวินิจฉัย ภายใน ๗ วันนับจากวันที่มีคำวินิจฉัย พร้อมบันทึกในทะเบียนประวัติของผู้ประกอบโรคศิลปะ 


เมื่อมีคำกล่าวหา กล่าวโทษ
1. 
คณะกรรมการวิชาชีพ รับคำร้อง
2. 
คณะกรรมการวิชาชีพ ตั้งคณะอนุกรรมการวิชาชีพสอบสวน (ทุกเรื่อง ก่อนลงโทษ)
3. 
ประธานอนุกรรมการวิชาชีพ ส่งหนังสือเรียกตัว
4. 
กรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการวิชาชีพ แจ้งผลการพิจารณา
ผู้ประกอบโรคศิลปะขาดคุณสมบัติ ต้องไม่ทำผิดหน้าที่
• ไม่ได้ขึ้นทะเบียน และไม่มีใบอนุญาต
ทำการประกอบโรคศิลปะ  ( ๓ ปี ๓๐,๐๐๐บาท   จำ/ปรับ)
ทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ แต่ไม่ได้กระทำการฯ( ๒ ปี ๒๐,๐๐๐ บาท จำ/ปรับ)
  
• ได้ขึ้นทะเบียนและ ได้รับใบอนุญาต
ทำการประกอบโรคศิลปะ ระหว่างถูกสั่งพัก/เพิกถอนใบอนุญาต ( ๒ ปี ๒๐,๐๐๐ บาท จำ/ปรับ )
ประกอบโรคศิลปะ ผิดสาขา  ( ๒ ปี ๒๐,๐๐๐ บาท จำ/ปรับ )
ทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิดว่ายังทำการประกอบโรคฯได้(ถูกพัก/เพิกถอน)( ๑ ปี ๑๐,๐๐๐ บาท จำ/ปรับ )

ขอบคุณ www.medimind.net/กฏหมายแพทย์/

พรบ.วิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๕๖ คลิ๊กดาวน์โหลดข้างล่างนี้ 
http://www.thaihof.org/sites/default/files/users/user-4/original/phrb_wichaachiiphkaaraephthyaephnaithy_2556.pdf

ตัวอย่างข้อสอบ พรบ.การประกอบโรคศิลปะ
ข้อ 1.   ในการปฎิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างไร
1. เข้าไปในสถานพยาบาลในระหว่างเวลาทำการเพื่อตรวจสอบ
2. เข้าไปในสถานพยาบาลได้ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกเพื่อตรวจสอบ
3. ทำการจับกุมผุ้รับอนุญาตมาควบคุมเพื่อให้ถ้อยคำ
4. ริบบรรดาเอกสารหรือสิ่งของที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด
ข้อ 2.  การขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การออกหนังสือรับรองความรู้ความชำนาญเฉพาะทางในการประกอบโรค ศิลปะ การขอรับใบแทนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาต ให้เป็นไปตามข้อใด
1. ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
2. ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในระเบียบ
3. ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศ
4. ผิดทุกข้อ
ข้อ 3.  การช่วยเหลือคนเป็นลมข้างถนน โดยให้ยาดม และใช้ยาทาถูนวดตามร่างกาย จะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542 อย่างไรหรือไม่ ถ้าผู้ช่วยเหลือนั้นไม่ได้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ
1. มีความผิดฐานประกอบโรคศิลปะโดยมิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต
2. มีความผิดฐานประกอบโรคศิลปะในที่สาธารณะ
3. มีความผิดฐานแสดงตน ว่าพร้อมที่จะประกอบโรคศิลปะ
4. ไม่มีความผิด เพราะเป็นการช่วยเหลือตามธรรมจรรยา

ข้อ 4.  ถ้าผู้ประกอบโรคศิลปะ ในสาขาใดสาขาหนึ่ง ประกอบโรคศิลปะในสาขาอื่นที่ตนมิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตจะระวางโทษ อย่างไร
1. จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3. จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
4. จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ 5.  นาย ก.เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยได้ลงแจ้งความ ในหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับผลงานที่ได้รักษาผู้ป่วย ดังนี้ถือว่า นาย ก.
1. ไม่สามารถทำได้เพราะผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ
2. ไม่สามารถทำได้เพราะป็นข้อความที่ผิดกฎหมาย
3. ไม่สามารถทำได้เพราะเป็นการแจ้งความ
4. ไม่สามารถทำได้เพราะเป็นการเผยแพร่ข้อมูลเฉพาะบุคคล
ข้อ 6.  นายสงบ เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทเวชกรรมไทย จัดรายการวิทยุโดยแนะนำเกี่ยวกับยาสมุนไพร ต่างๆ และบอกให้ผู้ฟังที่มีปัญหาความเจ็บป่วยไปรับการรักษาที่สถานพยาบาลของตน นายสงบกระทำผิดหรือไม่ ด้วยเหตุใด
1. ผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ เพราะเป็นการโฆษณาความรู้ความชำนาญในการประกอบโรคศิลปะของตน
2. ไม่ผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ เพราะเป็นการทำงานในหน้าที่
3. ไม่ผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ เพราะเป็นการทำงานในหน้าที่
4. ผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ เพราะเป็นการจงใจชักชวนคนเจ็บไข้ให้รับการรักษาพยาบาลของตนเพื่อผลประโยชน์
ข้อ 7.  นายสงนถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุกในคดีฝ่าฝืนคำสั่งพักใช้ใบอนุญาต คดีถึงที่สุดแล้ว คณะกรรมการวิชาชีพจะดำเนินการกับ นายหน้าอย่างไร
1. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการวิชาชีพดำเนินการสืบสวน
2. ไม่ดำเนินการอย่างใดเพราะถูกจำคุกแล้ว
3. สั่งเพิกถอนใบอนุญาตโดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด
4. ผิดถูกข้อ
ข้อ 8.  ในการประชุม ถ้าประธานกรรมการวิชาชีพ ไม่สามารถปฎิบัติหน้าที่ได้ การประชุมก็ต้องเลื่อนไป คำกล่าวนี้ถูกต้องหรือไม่
1. ไม่ถูกต้อง เพราะมีรองประธานทำหน้าที่แทน
2. ถูกต้อง เพราะการประชุมต้องมีประธานทำหน้าที่ตามกฎหมาย
3. ไม่ถูกต้อง เพราะที่ประชุมสามารถเลือกกรรมการคนอื่นทำหน้าที่แทน
4. ถูกต้อง เพราะประธานไม่ได้มอบหน้าที่ให้กรรมการคนอื่นทำหน้าที่แทน
ข้อ 9.  ผู้ที่เป็นทั้งกรรมการการประกอบโรคศิลปะและกรรมการวิชาชีพสาขาทางการแพทย์แผนไทยคือ
1. ปลัดกระทรวงสาธารณสุข                                 2. ผู้อำนวยการสถาบันการแพทย์แผนไทย
3. ผู้อำนวยการกองประกอบโรคศิลปะ                4. ทุกข้อที่กล่าว
ข้อ 10.  วิชาชีพใด เมื่อจะทำการประกอบวิชาชีพ ต้องขึ้นทะเบียนและขอใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ
1. แพทย์                                2. พยาบาล
3. ทันตแพทย์                       4. เทคนิคการแพทย์